จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ต้องมีความกล้า

206603 ศุภกร เลาหสงคราม

นักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychologist)


“Those who are too smart to engage in politics are punished by being governed by those who are dumber.”

― Plato

Intro

ข้อความนี้เขียนไว้เตือนใจคนที่อยากเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะบางทีความเก่ง ความสามารถ ความตั้งใจ ความฉลาด ความรู้ หรือจิตใจที่อยากช่วยเหลือผู้อื่น มันไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เพราะสิ่งที่เราเองอาจจะขาดอยู่ก็คือความกล้า ทําไมความกล้าจึงจําเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม แล้วลึกๆทําไมเราถึงไม่อยากที่จะกล้า แล้วเราจะสร้างความกล้าได้อย่างไร อันนี้คือสิ่งอยากจะมาแชร์และหลังว่าจะเป็นประโยชน์สําหรับคนที่ต้องการเดินสายนี้

Bystander Syndrome

ถ้าถามทุกคนว่าอยากจะให้สังคมเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีตรงไหนไม่ดี ตรงไหนควรปรับปรุง ผมเชื่อว่าทุกคนมีคําตอบในใจ แต่น้อยคนนักที่จะออกมาพูดหรือออกมาเปลี่ยนแปลงมันจริงๆ นี้เป็นสิ่งที่ผมเองก็เป็นและเชื่อว่าหลายคนที่ลึกๆอยากเปลี่ยนแปลงสังคมก็เป็น ซึ่งหลังจากที่ผมได้ศึกษาใจตัวเองแล้ว คําตอบที่ผมได้กับคําถามที่ว่าทําไมเราถึงไม่อยากที่จะออกตัวมาเปลี่ยนแปลงสังคมนั้นก็คือสิ่งที่ผมเรียกว่า Bystander Syndrome หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า คนนอก ซินโดร

อะไรคือ Bystander Syndrome? มันคืออาการที่เรายินดีที่เป็นคนนอกมากกว่าที่จะเป็นผู้เล่น ยกตัวอย่างเช่น หลายคนรู้ดีว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก ดังนั้นไม่มีใครอยากที่จะเอาตัวเองเข้าไปเล่นการเมืองต่อให้มันจะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ก็ตาม หลายคนคงรู้สึกลําบากใจหากเราจําเป็นต้องไปพูดสวนกับคนที่ไม่อยากให้สังคมเปลี่ยนแปลงต่อให้มันเป็นเรื่องที่จําเป็นต้อง เพราะมันอาจจะเป็นการสร้างปัญหาใส่ตัวด้วย หลายคนก็อาจจะแค่อยากใช้ชีวิตของเราอยากสงบโดยที่ไม่ไปทําให้นํ้ากระเพื่อม นี้ก็เป็นเหตุผลที่จริง เข้าใจได้ และปฎิเสธไม่ได้ แต่มันก็เป็นเหตุผลที่ทําให้เราไม่กล้าที่จะออกมาพูดหรือลงมือทํา

อยู่เป็นโลกไม่เปลี่ยน

"ขอให้ทุกคนกล้าคิด-กล้าฝัน-ต้องอยู่ไม่เป็น เพราะหากอยู่เป็นโลกจะไม่เปลี่ยน"

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

แต่สําหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนสังคม สิ่งที่เราต้องเข้าใจก็คือเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ถ้าเราจะไม่ทําให้นํ้ากระเพื่อมเลย ความหมายของสังคมก็คือคนที่อยู่รวมกัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสังคมมันหนีไม่พ้นที่จะต้องเปลี่ยนคน และเมื่อสิ่งที่เราอยากจะแก้คือคนและความคิดของคน แน่นอนมันก็ต้องหนีไม่พ้นที่จะมีแรงเสียดทานจากคนที่ไม่เห็นด้วย ไม่เข้าใจ และไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแรงเสียดทานนี้อาจจะมาในรูปแบบต่างๆ เช่น คําด่าทอ หรือ ความเกรียดชัง แต่สุดท้ายแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่ไม่กระทบใครเลยก็คือการไม่เปลี่ยนแปลง

เพราะเหตุนี้ เราไม่ต้องไปกลัวว่าเราจะทํานํ้ากระเพื่อมเพราะถ้าจะเปลี่ยนสังคมมันก็ต้องกระเพื่อม เพราะมันคือการเปลี่ยนแปลง ต้อง rock the boat ต้องเผชิญหน้ากับแรงต้านและแรงเสียดทานของสังคม ต้องพูดอะไรที่ไม่ตรงกับ status quo, ค่านิยม, หรือ ความเชื่อเก่าๆ สําหรับคนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงหน้าที่นี้มันหนีไม่พ้น

Change is a process of creative destruction

ซึ่งเมื่อเราได้ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงแล้ว สิ่งที่เราเห็นก็คือความจําที่จะต้องมีกระบวนการทําลายก่อนเพื่อเปิดทางให้สิ่งใหม่เข้ามา กระบวนการนี้เรียกว่า Creative Destruction อธิบายง่ายๆก็คือเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ถ้าไม่ทําลายสิ่งเก่าก่อน เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของนาย Joseph Schumpeter ที่เอาไว้อธิบายเหตุการที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อมี innovation หรือ นวัตกรรมเข้ามา disrupt ตลาด

เราลองนึกง่ายๆว่า เราอยากที่จะสร้างบ้านใหม่ในที่ดินเดิม ตราบใดที่บ้านเก่ามันยังอยู่เราไม่สามารถจะสร้างบ้านใหม่ในที่เดิมได้ ดังนั้นเราจําเป็นจะต้องทุบบ้านเก่าทิ้งก่อน เพื่อที่เราจะสามารถสร้างบ้านใหม่ได้ นี้คือ process ที่เรียกว่า creative destruction ต้องมีการทําลายก่อนเพื่อเปิดทางให้ความสร้างสรรณ

การเปลี่ยนแปลงจําเป็นต้องมีการทําลายล้างแต่สิ่งที่อยากจะบอกในที่นี้ไม่ได้หวังว่าให้เราต้องใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ไม่ได้หมายถึงการใช้ความรุนแรง มันจะเป็นวิธีไหนก็ได้ จะเบาเหมือนลมความคอยเปลี่ยนรูปร่างของภูเขาก็ได้ จะนิ้มนวนเหมือนนํ้าค้างที่หยดลงมาบนหินก็ได้ แต่สิ่งที่หนีไม่พ้นก็คือการเปลี่ยนแปลงมันเป็นกระบวนการ creative destruction การเปลี่ยนแปลงสังคมนี้ก็เช่นกัน ยังไงนํ้าก็ต้องกระเพื่อม ยังไงก็ต้องมีกระทบกระทั้งบ้าง มันหนีไม่พ้น ไม่งั้นก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ดังนั้นยอมรับมัน เข้าใจมัน ไม่ต้องกลัวมัน เห็นประโยชน์ของมันเพราะสุดท้ายแล้วการเปลี่ยนแปลงก็คือทําลายล้างที่สวยงาม

โลกเปลี่ยนแปลงไม่ได้ถ้าเราไม่กล้าที่จะเปลี่ยนมัน

ถ้าเรายังไม่กล้าพอที่จะทิ้งความสุขจากการเป็น Bystander เพื่อมาเผชิญหน้ากับแรงเสียดทานที่จําเป็นในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เราก็ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ต่อให้เราพูดกับตัวเองว่าเราไม่อยากยุ่งหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขนาดไหน สุดท้ายปัญหาทางสังคมก็มีวิธีกลับมายุ่งกับเราได้อยู่เสมอ เช่น เราบอกว่าเราไม่อยากยุ่งกับการเมือง แต่ทุกวันนี้เราก็ยังต้องเสียภาษี เสียค่านํ้า ค่าไฟ เสียค่าประกันสังคม ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐไม่ว่ามันจะดีหรือแย่ การที่เราพูดว่าเราไม่เกี่ยวนั้นเราพูดได้ แต่ในความจริงแล้วไม่มีอยู่จริง เพราะทุกคนเกิดมาก็ต้องอยู่ในสังคมและรับผลกระทบจากสังคมนั้นๆ ยังไงเราเป็นผู้เล่นตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้น มันถึงเวลาหรือยังที่เราจะเลิกเป็น bystander syndrome และเริ่มมองเห็นความรับผิดชอบของเราในฐานะผู้เล่นคนหนึ่ง? หรือว่าเราจะนิ้งเฉยต่อไปจนกว่าผลกระทบนี้จะส่งมาถึงเราและคนที่เรารักในแบบที่เขาเรียกกันว่า “ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งนํ้าตา”? วันนี้เรายังมีแรง ยังมีปากมีเสียง เรายังพอช่วยเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้างในโลกนี้ได้ไม่มากก็น้อย ทําไมเราไม่ทํามัน หรือว่าเราเป็นคนแบบที่ Plato เคยเตือนไว้ว่า “ฉลาดเกินที่จะเล่นการเมืองจนถูกลงโทษโดยการปล่อยให้คนที่โง่กว่าเรามาบังคับบัญชาแทน”? คนเก่งและดีมีเยอะแล้วในสังคม แต่จะเปลี่ยนสังคมได้สิ่งก็ต้องกล้าด้วย

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

Filter blog posts by tag วิถีนักให้