วิธีแก้ไขการเมืองไทยที่ยั่งยืนและถูกต้องต่อเจตตนารมของหลักประชาธิปไตยโดยใช้เทคโนโลยี blockchain
Summary
การเมืองตอนนี้อยู่ในขั้นวิกฤต เรามีประชาธิปไตยที่ไม่สามารถสะท้อนเจตตารมของประชาชน เรามีระบบการเลือกตั้งที่ไม่โปล่งใส เรามีนักการเมืองที่สามารถตระบัดสัตย์และเหยีบบหัวประชาชนคนที่เลือกเขาเข้าไปได้ทันทีที่เข้าสภา เรามีการเมืองทีขาดการรับผิดชอบต่อคํามั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน เรามีรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่บิดเบือนกลไกการเมืองโดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม และที่แย่ที่สุดเรามีระบบประชาธิปไตยที่อํานาจไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ปัญหานี้สามารถถูกแก้ไขได้อย่างง่ายดายด้วยโครงสร้างการเมืองที่อยากจะเสนอและอยากให้นําไปพิจราณานั้นก็คือระบบการเมืองที่ว่านี้เรียกว่า Decentralized Democracy หรือ การนําเทคโนโลยี blockchain เขามาวางรากฐานให้ประชาธิปไตย เพื่อดิสรัปต์หรือเปลี่ยนแปลงการเมืองให้ดี โปล่งใส มีประสิทธิภาพ และซื่อตรงต่อหลักประชาธิปไตย ในบทความนี้เราจะมาดูปัญหาหลักที่การเมืองไทยกําลังเผชิญและชี้ให้เห็นว่าการใช้การใช้เทคโนโลยี blockchain สามารถแก้ไขปัญหาดังกลาวได้อย่างไร เริ่มตั้งแต่การเลือกตั้ง การเลือกผู้แทนราษฎร การเลือกองค์กรอิสระ จนไปถึงอํานาจของประชาชนในแก้ไขกฎหมายและรัฐธรรมมนูณ
กรณีศึกษาที่ 1: การเลือกตั้ง
การทําธุรการของราชการ ปกติแล้วเราจะใช้การจดข้อมูลลงในกระดาษ ไม่ว่าจะเป็น บัตรเลือกตั้ง โฉนดที่ดินหรือ ใบอนุญาติต่างๆ แต่เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาก็เริ่มที่จะเปลี่ยนการทําธุรกรรมและจัดเก็บข้อมูลจากกระดาษให้เป็นแบบดิจิทัลมากขึ้น เช่น การทําภาษีออนไลน์ การจ่ายเงินผ่าน QR code แทนที่จะต้องหอบตัวไปทําธุรกรรมที่เขต นี้ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบราชการได้มาก นักวิชาการเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า e-government หรือ digitalizationของระบบราชการ แต่ไม่ว่าจะใช้กระดาษ หรือ ระบบ e-government ก็ยังเจอปัญหาที่เหมือนกันนั้นก็คือการที่ข้อมูลและการทําธุรกรรมนั้นมี single-point of failure หรือว่ามีคนคนเดียวที่สามารถทําธุรกรรมและบันทึกข้อมูลได้ การเลือกตั้งนี้ก็เหมือนกัน
8 ปีที่ผ่านมากับการเลือกตั้ง 2 ครั้ง ไม่เคยมีปีไหนที่ประชาชนรู้สึกอุ่นใจได้เลยเกี่ยวกับความโปร่งใสของการเลือกตั้ง เพราะว่าประชาชนไม่เชื่อการทําหน้าที่ของ กกต หรือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และนี้คือจุดอ่อนของระบบการจัดเก็บข้อมูบที่เรากําลังเผชิญอยู่ เพราะ กกต เป็นคนเดียวที่สามารถทําธุรกรรมและจัดเก็บคะแนนโหวตของประชาชน และ ถ้า กกต เลือกที่จะเป็น “bad actor” หรือมีเจตตาที่ไม่ซื่อตรง ก็ไม่มีใครสามารถมาคัดค้านหรือรู้ได้ว่าข้อมูลที่ กกต ได้บันทึกและแสดงไว้นั้นตรงต่อความจริงหรือไม่ นี้ก็ทําให้ข้อมูลนี้มีความไม่น่าเชื่อถือ
วิธีที่ระบบ blockchain แก้ไขปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูลก็คือการกระจายหน้าที่ในการตรวจสอบ ยืนยัน และ บันทึกข้อมูล ในภาษา blockchain เรียกคนที่ทําหน้าที่นี้ว่า “Validator” ซึ่งในกรณีของการเลือกตั้งแบบปัจจุบันเรามี Validator เพียงแค่คนเดียว นั้นก็คือ กกต แต่ในเครือข่าย blockchain เมื่อมีคนโหวตให้พรรค A ข้อมูลนี้จะถูกกระจายส่งไปหาทุกๆ Validator ซึ่ง Validator ทีพูดถึงนี้ก็อาจจะเป็นองค์กรอิสระอื่นๆ เช่น iLaw, We Watch, ANFREL, IDEA, หรือ UN เมื่อทุก Validator ได้รับข้อมูลความเรียบร้อย Validator ก็จะจดโหวต และเปรียบเทียบข้อมูลที่ตัวเองบันทึกไว้ว่ากับ Validator คนอื่นว่าตรงกันหมดหรือเปล่า ถ้าไม่ตรงกันก็ต้องไปตรวจใหม่ จนกว่าจะมีฉันทามติ หรือเสียงส่วนมาก (แล้วแต่จะระบบจะตกลง) ระหว่าง validator แล้วจึงยืนยันและบันทุกข้อมูลลงไปในฐานข้อมูลของ blockchain
การกระจายหน้าที่ในการตรวจสอบและจดคะแนนโหวตนี้ก็คือการกระจายความไว้วางใจให้อยู่ทุกที่ แทนที่จะกระจุกมันอยู่ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง นี้คือธรรมชาติของระบบ blockchain ที่เรียกกันว่า “Decentralization” ทําให้เราไม่จําต้องฝากความหวังไว้กับองค์กรเดียว เป็นการช่วยถ่วงดุลการทําหน้าที่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่อาจจะมีเจตตาไม่ซี่อตรง
อันนี้เป็นสิ่งที่คนก็ทํากันแล้วในโลกของ blockchain และเป็นสิ่งที่ ประเทศไทยสามารถนํามาใช้ได้เพื่อสร้างรากฐานให้กับโครงสร้างระบบราชการในอนาคตให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การใช้ระบบ blockchain ในการเลือกตั้งนี้ก็ถือได้เลยว่าเป็น MVP หรือ minimal viable product มันคือการใช้เทคโนโลยี blockchain เพื่อการทดลองและวางรากฐานแรกให้กับระบบราชการ เพราะเมื่อทําสําเร็จแล้ว ธุรกรรมอื่นๆก็จะเป็นเรื่องง่าย เช่น การทําประชามติแบบออนไลน์ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ไขและร่างกฎหมายออนไลน์ ซึ่งนี้ก็จะเป็นเรื่องที่จะพูดกันต่อไป
กรณีศึกษาที่ 2: การเลือกผู้แทนราษฎร
สมมุติว่าเราลงโปรแกรมใหม่ไปในคอมพิวเตอร์ของเรา แต่มันกลับเป็น virus สิ่งที่ทุกคนทําก็คงพยายามอย่างเต็มที่เพื่อหาวิธีลบมันออกจากเครื่องให้ไวที่สุด คงไม่มีใครรอให้ virus ทําลายหรือมาhackคอมเราต่อไปอีก 4 ปีก่อนแล้วจึงลบมัน มันดูเรื่องบ้า แต่เรื่องบ้านี้คือเรื่องจริงสําหรับการเมืองไทย
ผู้แทนราษฎรหรือนักการเมืองบางท่านก็เปรียบเสมอ virus ที่ประชาชนลบได้เพียง 4 ปีครั้ง ตอนหาเสียงก็บอกว่าตัวเองทําเพื่อชาติเพื่อประชาธิปไตย แต่วินาทีที่ประชาชนเลือกเขาเข้าไปทําหน้าที่ในสภาก็เหยีบบหัวประชาขนและลืมทุกคําพูดที่ได้ให้ไว้กับคนที่เลือกเขาอย่างไม่มีใยดี เพราะต่อให้ในระหว่าง 4 ปีเขาจะตระบัดสัตย์ จะมากอบโกยผลประโยชน์ จะกัดกินบ้านเมือง หรือ จะมาแก้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ตัวเองและพวกพ้อง มันก็เป็นเรื่องยากที่ประชาชนก็เอาเขาออก ประชาชนที่เป็นผู้เลือกเขาเข้าไปทํางาน จ่ายเงินภาษีให้เขามาทําหน้าที่แทนเรา ประชาชนที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของประเทศในระบอบประชาธิปไตยกลับไร้อํานาจ ทําได้แค่รอ รอที่จะลงโทษ รอที่จะใช้อํานาจเดียวที่มี นั้นก็คือก็คือการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งใหม่ในอีก 4 ปีหน้า โดยหวังว่าในที่สุดแล้ว จะเอา virus ตัวนี้ออกจากการเมืองและแทนทีใหม่ด้วยนักการเมืองที่จะไม่เป็น virus
หากหลักของประชาธิปไตยคือการที่ประชาชนมีอํานาจสูงสุดในประเทศ ในระยะเวลา 4 ปีหรือ 1460 วันที่นักการเมืองเลวเหล่านี้ได้เข้าไปมีอํานาจ ประชาชนกลับมีอํานาจจริงแค่วันเดียว วันเลือกตั้ง อย่างนี้เรายังพูดอยู่ได้ไหมว่าอํานาจยังอยู่ในมือของประชาชน
เพราะฉะนั้น ปัญหาใหญ่ในเชิงโครงสร้างการเมืองในการเลือกผู้แทนราษฎรก็คือการที่เรามี feedback loop ที่ช้าเกินไป (Feedback loop คือ ระยะเวลาจากที่นักการเมืองกระทําอะไรบางอย่างจนเวลาที่ได้รับผลตอบรับจากการกระทํานั้น) ช้าจนทําให้นักการเมืองไม่เกรงกลัวเสียงของประชาชน
เพราะเหตุนี้ผมจึงเห็นสมควรว่าเราจําเป็นต้องมาคิดหาโครงสร้างการเมืองใหม่ที่เอื่อให้ประชาชนมีอํานาจเหนือนักการเมืองอย่างแท้จริง
การจัดการเลือกตั้งในปี 2566 นี้ใช้งบไม่มากกว่า 6 พันล้าน เพราะเหตุนี้มันอาจจะเข้าใจได้ว่าทําไมเราไม่ควรจัดการเลือกตั้งบ่อย แต่ถ้าเราเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งมาเป็นแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายblockchain เราสามารถจัดการเลือกตั้งได้ง่ายไวและไม่ต้องใช้งบมากมายขนาดนี้ นี้ก็เพราะมันเป็นธรรมชาติของระบบ blockchain ที่เรียกกันว่า “programmability” หรือ การที่โปรแกราสามารถเข้ามาจัดการข้อมูลได้ ซึ่งต่างกับการที่เราใช้กระดาษที่จําเป็นต้องทําบัตร ทําหีบ รณรงค์ให้คนออกมาเลือกต้้ง นับคะแนน และรวมร่วมคะแนะจากทั่วประเทศ blockchain นั้นเป็นโปรงแกรมที่เข้าเรียกว่า “internet-native” เพราะฉะนั้นการโหวตนั้นเป็นแบบออนไลน์นี้ก็จะเปิดโอกาสให้เราไม่จําเป็นต้องรอถึง 4 ปี เพื่อที่จะมีการเลือกตั้ง เพราะเมื่อการเลือกตั้งอยู่บนเครือข่าย blockchain แล้ว มันสามารถเลือกได้ทุกที่ทุกเวลา สมมุติว่าเราวางกฎง่ายๆไว้ว่าประชาชนสามารถเปลี่ยนโหวตได้ทุกเวลาปีละหนึ่งครั้ง เราลองนึกดูว่าถ้าทําได้จริงหน้าตาของการเมืองตอนนี้จะเปลี่ยนมากน้อยขนาดไหน นักการเมืองจะเกรงกลัวเสียงของประชาชนขนาดไหน และอํานาจสุดท้ายจะตกไปอยู่ที่ใคร นี้คือวิธีการตรึงอํานาจไว้ในมือของประชาชนโดยการลดเวลาของ feedback loop ให้สั่นลง วันไหนนักการเมืองหรือพรรคไหนตระบัตสัตย์ ประชาชนก็สามารถลงโทษและใช้สิทธิในการเปลี่ยนโหวตของเขาได้วันนั้น ไม่ต้องรอถึง 4 ปี ผมเรียกโครงสร้างการโหวตนี้ว่าเป็น “Perpetual Voting System” คือไม่ต้องจัดการเลือกตั้งเลยก็ได้เพราะมันสามารถโหวตได้เลยทุกที่ทุกเวลาอยู่แล้ว
ข้อดีข้อการทําเช่นนี้ก็แน่นอนอยู่แล้วว่ามันทําให้อํานาจอยู่ในมือของประชาชน และทําให้พรรคการเมืองและผู้แทนราษฎรจําเป็นต้องฟังเสียงของประชาชนที่เลือกเขาเข้าไป ระบบจะมีความฉับไวในการตอบสนองต่อเจตตารมของประชาชมมาก แต่นี้ก็เป็นข้อเสียของมันเหมือนกันด้วย เพราะถ้าเราอนุญาติให้ทุกคนเปลี่ยนโหวตของตัวเองได้บ่อยๆ เสถียรภาพของรัฐบาลก็จะมีน้อยและทําให้ทํางานที่ต้องใช้เวลานานได้ยาก ดังนั้นนี้ก็ต้องมีการทําการวิจัยและทดลองมาขึ้นเพื่อหาสุมดุลระหว่างเสภียรภาพของรัฐบาลกับอํานาจของประชาชน
กรณีศึกษาที่ 3: องค์กรอิสระ
การเลือกตั้งครั้งนี้มีข้อสงสัยและมีความไม่พอใจมากมายเกี่ยวกับการทํางานของ กกต. (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง) ไม่ว่าจะเป็นความโปร่งใสในการทําหน้าที่ เจตตาที่เข้ามาทําหน้าที่ ประสิทธิภาพในการทําหน้าที่ งบประมานที่ใช้ก่อนหรือระหว่างการทําหน้าที่ การเลือกปฏิบัติต่อบางพรรคการเมือง จนไปถึงเส้นทางที่ กกต ชุดนี้ได้เข้ามามีมาตําแหน่ง ซึ่งแต่ละเรื่องก็ทําให้ประชาขนไม่พอใจจนได้มาซึ่งมีมที่ทุกคนก็คงเคยเห็น:
ปัญหาหลักขององค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือ ปปช. ก็คือการที่องค์กรเหล่านี้ไม่มีอิสระที่แท้จริง เพราะถูกแต่งตั้งและควบคุมโดยคนที่มีอํานาจ จึงทําให้การทํางานมีความไม่เป็นกลาง อํานาจที่ควรอยู่ในมือประชาชน หน้าที่ที่จริงๆแล้วควรเข้ามารับใช้ประชาชน ก็กลับกลายไปซื่อตรงต่อคนที่แต่งตั้งคนในองค์กรเหล่านี้เข้ามา
เพื่อให้การแต่งตั้งองค์กรอิสระนี้อยู่ในอํานาจของประชาชน เราอาจจะใช้ระบบ blockchain เพื่อเข้ามาเลือกองค์อิสระผ่านระบบ vote of confidence หรือการให้คนส่วนมากเข้ามาโหวตผ่านเครือข่าย blockchain ว่าประชาชนยังเชื่อมั่นในการทําหน้าที่ขององค์กรอิสระชุดนี้ไหม เราอาจจะตั้งกฎขึ้นมาว่า หากคนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นของประเทศไม่เชื่อมั่นก็ควรที่จะเปลี่ยนคนที่เข้ามาทําหน้าที่นี้
อํานาจของประชาชนที่สามารถจะเปลี่ยนองค์กรที่เข้ามาทําหน้าที่รับใช้ประชาชนได้นั้นจะสร้างความรับผิดชอบให้แก่คนที่เข้ามาทําหน้าที่ เพราะถ้าเขาทําหน้าที่ไม่ดี ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ หรือกระทําการใดที่ไม่ตรงต่อเจตตารมของประชาชน กลุ่มคนที่เข้ามาทําหน้าที่นี้ก็จะถูกถอดถอน นี้ก็จะทําให้บุคลากรที่เข้ามาทําหน้าที่นั้นเกรงใจเสียงของประชาชน ไม่ใช่ไปเกรงใจคนหรือกลุ่นคนที่มีอํานาจที่แต่งตั้งเขาเข้ามา
อันนี้ขอเน้นยํ่าว่าระบบที่ได้พูดมานี้ยังต้องการทดลองและพิสูจณ์อีกมากก่อนที่จะสามารถนํามาใช้ได้จริง แต่อย่างไรก็ตามก็อยากจะให้ข้อสังเกตถึงข้อด้อยของระบบที่ได้พูดมาว่ามีอะไรบ้าง หากคิดจะเอาไป implement จริง
จุดอ่อนจริงๆแล้วก็เป็นจุดแข็งของระบบนี้ นั้นก็คือการที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงคนและองค์กรที่เข้ามาทํางานได้ไว เพราะเมื่อเราสามารถเปลี่ยนโหวตให้แก่องค์กรเหลานี้ได้ตลอดเวลา สิ่งที่ต้องแลกมาก็คือความไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่จะต้องหาจุดที่สมดุลระหว่างความเสถียรภาพขององค์กรกับความจําเป็นที่ต้องเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะอนุญาติให้เปลี่ยนโหวตไปเพียงปีละครั้งแทนที่จะเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องที่เราเปลี่ยนเร็วเกินจนไม่มีเสถียรภาพ แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนเปลี่ยนอะไรไม่ได้เลยมากกว่า ผมจําเห็นว่าระบบนี้คือการให้อํานาจคืนสู่ประชาชนแทนที่องค์กรเหล่นนี้จะตกไปอยู่ในมือของคนบางกลุ่ม
กรณีศึกษาที่ 4: กฎหมายและรัฐธรรมนูณ
มาตรา 272 บนรัฐธรรมนูณ ที่มอบอํานาจให้กับสมาชิกวุฒิสภามีอํานาจในการโหวตนายกคือทุกอย่างที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ต่อให้ปากของ สว. จะพูดว่าเขามีความชอบธรรม แต่การกระทํามันส่อถึงความไม่เป็นกลาง เพราะที่มาและการที่เขาไม่ได้เป็นคนที่ประชาชนที่เลือกเข้ามาอย่างแท้จริง ปัญหาของกฎหมายและรัฐธรรมนูณที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็คือประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอ ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้ได้ ซึ่งจริงๆก็เข้าใจได้ เพราะถ้าจะต้องทําประชามติทั่วประเทศทุกครั้งที่มีการแก้ไขก็คงต้องใช้งบประมานมหาสาร แต่ถ้าเราใช้ระบบ blockchain เราสามารถให้ประชาชนมีส่วนรวมในการร่าง เปลี่ยนแปลง และลงประชามติในกฎหมายหรือรัฐธรรมนูณได้ไวและใช้งบประมานน้อย
ถ้าเราศึกษาวิวัฒนาการของระบบ blockchain ก็จะเห็นการพัฒนาขององค์กรที่เรียกว่า DAO หรือ Decentralized Autonomous Organization มากขึ้นเลื่อยๆ ซึ่งองค์กรเหล่านี้ก็คือองค์กรที่ถูกจัดตั้งบนเครือข่าย blockchain คนที่อยู่ในเครือข่ายสามารถลงประชามติเพื่อตัดสินใจทุกอย่างผ่านระบบ blockchain ไม่ว่าจะเริ่มตั้งแต่การเสนอกฎ เสนอการเปลี่ยนแปลงในองค์กร การถกเถียงและวิจารร่างที่จะเสนอ การลงประชามติโดยการโหวตลงคะแนนเพื่อถามเสียงส่วนใหญ่ว่าจะรับร่างหรือข้อเสนอหรือไม่ จนไปถึงขั้นการบังคับใช้ ทุกขั้นตอนทําบน blockchain หมดโดยที่ไม่ต้องแม่แต่จะเจอหน้ากัน และไม่ต้องใช้งบ 6 พันล้าน
ความหมายของคําว่า “กฎหมาย” แปลง่ายๆก็คือ กฎเกณฑ์ที่มนุษย์ตกลงกันว่าจะทําตาม ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยก็ควรเป็นกฎเกณฑ์ที่ประชาชนส่วนมากเห็นชอบ ถ้าเราใช้หลักการนี้ในการจัดการกฎหมายและรัฐธรรมนูณจริง เราก็ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมามีส่วนร่วมในการพิจารณา ตัดสิน แก้ไข เสนอ ร่าง และลงประชามติในกฎหมายและรัฐธรรมนูณให้มากที่สุด ถ้าเอามาใช้ในเครือข้าย blockchain เราก็อาจจะเอากฎหมายและมาตราในรัฐธรรมนูณนั้นมาให้ประชาชน วิจารในรูปแบบ forum เช่น มาตรา 272 ใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรก็สามารถเข้าไปcommentและแสดงความคิดเห็นกันได้ นอกจากนั้นก็สามารถทําประชามติได้ทันทีก็คือให้ประชาชนสามารถเข้ามาโหวตว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับมาตรา 272 ซึ่งถ้าคนมากกว่า 50 เปอร์เซ้นไม่เห็นด้วยก็ให้ยกเลิกกฎเกณฑ์นั้นสะ เพราะคนส่วนมากไม่ได้เห็นด้วย เพราะการโหวตทําให้ระบบ blockchain มันก็สามารถมีการยืนยันจาก Validator ที่น่าเชื่อถือแล้วก็ถือได้เลยว่าเป็นประชามติ
นี้คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนรวมในการกําหนดประเทศของเขาเอง ในกฎเกณฑ์ที่เขาต้องอยู่กับมันเอง โดยใช้เทโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อ disrupt โครงสร้างของการเมืองในปัจจุบัน
กรณีศึกษาที่ 5: เส้นทางการเงิน
อันนี้อาจจะยากและไปไกลหน่อยแต่คิดว่าถ้าทําจริงก็น่าจะมีประโยชน์ นั้นก็คือการทําธุรกรรมของเงินภาษีบนเครือข่ายเครือข่าย blockchain การทําเช่นนี้ประชาชนก็จะสามารถเห็นทุก transaction ว่าภาษีที่เขาจ่ายไปจริงๆแล้วเส้นทางการเงินเป็นอย่างไร มันไปอยู่ไหน ใครเอาไปใช้ และใช้เท่าไหร คือเปลี่ยนบัญชีการเงินของรัฐบาลให้เป็น public ledger และเปลี่ยนการทําธุรกรรมให้ไปทําผ่านเครือข่าย blockchain นี้คือประโยชน์ของของระบบ blockchain ที่ชื่อว่า “Transparency” คือทุกคนสามารถเห็นและตรวจสอบได้ทุกธุรกรรม เงินก็ยากที่จะลั่วไหลหรือถูกปลอมแปลง
อันนี้ทําได้แต่ก็ทํายากหน่อยเพราะว่า การซื้อขายปกติหรือระบบของเงินที่ใช้อยู่ตอนนี้ก็ยังไม่ใช้เงินแบบดิจิทัล มาก จึงอาจจะทําให้มีปัญหาที่เรียกว่า overengineer เช่น ข้าราชการจะขอใช้เงินภาษีไปซื้อก๋วยเตี๋ยวแต่แม่ค้าดันไม่รับเงินดิจิทัลแล้ว transaction นี้จะเข้าไป register บน blockchain ได้อย่างไร? อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องคิด และอาจจะต้องรอเวลาให้สังคมพร้อมกว่านี้
หน้าที่ของประชาชนกับโครงสร้างของการเมืองที่ถูก disrupt โดยเทคโนโลยี blockchain
ถ้าเราเอาทุกกรณีศึกษามารวมกันหน้าที่ของประชาชนก็จะมี:
- โหวตให้พรรคและผู้แทนราษฎรแบบ “Perpetual Voting” คือสามารถเปลี่ยนโหวตได้ตามระยะที่กําหมดเช่นครั้งละ1 ปีเป็นต้น
- โหวตองค์กรอิสระที่เข้ามาทําหน้าที่ต่างๆ เช่น กกต. ปปช. เพื่อปลดล็อกองค์องอิสระให้มีอิสระภาพอย่างแท้จริง และมอบอํานาจให้กับประชาชนตามหลักประชาธิปไตยเพื่อให้ประชาชนเป็นคนเลือกและตัดสินเองว่าองค์กรเหล่านั้นได้เข้ามารับใช้เขาจริงหรือไม่
- สร้างองค์กรอิสระของเขาเองเพื่อมาเป็นรากฐานให้กับประชาธิปไตย เช่น การมาเป็น Validator ในระบบ blockchain ที่ต้องการบุคคลหรือองค์กรเพื่อมาตรวจสอบและจัดการธุรกรรมของรัฐ หรือ การเสนอตัวเพื่อมาอาสาเป็นองค์กรอิสระ เช่น กกต. ชุดนี้ทํางานไม่ได้เรื่องโดนประชาชนโหวตออกมาก เราก็สามารถเป็นชุดทํางานใหม่เพื่อมาทําหน้าที่แทนได้
- ตรวจสอบเส้นทางการเงินของภาษีบน public ledger
- โหวตเพื่อเสนอและแก้ไขกฎหมายและรัฐธรรมนูณ
ผมเชื่อว่ายิ่งเราให้โอกาสกับประชาชนในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากเท่าไร ประชาชนก็ยิ่งตื่นตัวกับการเมืองและอยากทําหน้าที่เป็นพลเมืองมากขึ้นเท่านั้น ในระบบประชาธิปไตย การเมืองไม่ควรเป็นเรื่องของนักการเมือง มันควรเป็นเรื่องของประชาชน และการใช้ระบบ blockchain เข้ามาก็ทําให้ประชาชนสามารถกําหนดชะตาประเทศของเขาเองได้ เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้ประชาธิปไตยเบ่งบางและสงเสริมให้ประชาชนรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง
Challenges
- การเข้าถึงเทโนโลยี Access to Technology
ถ้าเราย้ายการจัดการราชการไปไว้บน blockchain หมด ไม่ว่าจะเป็นการโหวตและลงประชามติ ก็เท่ากับว่าคนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือเข้าถึงเทคโนโลยีก็จะไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในประชาธิปไตยได้ ประชาธิปไตยจะทําหน้าที่ได้ดีก็ต้องได้เสียงของประชาชนให้มาก เช่นก็เลือกตั้งนี้เราก็ต้องดูประชากรที่ออกมาใช้สิทธิ และการที่มันต้องใช้เทคโนโลยีมากๆนี้ก็อาจจะกลายเป็นกําแพงให้คนไม่สามารถมาใช้สิทธิของตัวเองได้ นี้ก็จะเป็น challenge อย่างนึงที่ต้องคิด
- ความซับซอนและลายละเอียดในการดำเนินการ Technical Expertise
พูดง่ายกว่าทําเสมอ การจะเปลี่ยนระบบการจัดการทางราชการให้เป็น blockchain ได้นี้ก็ไม่ใช่งานง่าย เพราะมันเป็นเรื่องสําคัญและต้องการความเชื่อเหลือจากหลายๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นคนพัฒนาระบบ คนที่จะมาทําหน้าที่เป็น validate คนที่จะมาตัดสิน public policy หรือวิธีที่ได้มาซึง consensus ในเครือข่าย blockchain และอื่นๆอีกมากมาย ต้องใช้แรง พลังงาน และงบประมานอยู่มาก
- ความใหม่ Experimental
การใช้blockchain เข้ามาจัดการธุรกรรมทางการเมืองนั้นก็มีตัวอย่างอยู่ให้เห็นบ้างในหลายๆประเทศแต่ก็ยังไม่มาก ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากๆและยังอยู่ในขั้นทดลองและพิสูจน์ตัวเองอยู่ ในทฤษฎีมันเป็นไปได้แต่ในทางปฎิบัติอันนี้ก็ต้องลองทําดูและดูผลลัพธ์
- ความหนืดทางสังคม Social Inertia
การ disrupt การเมืองนั้นก็เท่ากับว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงมาก ซึ่งคนส่วนมากมักจะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลักมือ อันนี้ยังไม่พูดถึงคนที่ได้ประโยชน์จากโครงสร้างการเมืองเดิมนี้ที่มีอํานาจอยู่ในตอนนี้ก็ยิ่งจะขัดขืนและสู้เพื่อไม่ยอมให้ประเทศเปลี่ยนแปลง นี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องคํานึง การสร้างความรู้ความเข้าใจกับคนที่ไม่เข้าใจให้มากโดยไม่ใช่ความรุนแรงแต่ด้วยความรักและความหวังดี
Pros & Cons
ระบบที่เป็นอยู่...
Pros
- ทําง่าย ใช้การดาษจด
- ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรมาก
- ถ้าไม่มี bad actor ก็ยังใช้ได้
Cons
- Single point of failure or centralized
- Long Feedback Loop นักการเมืองรับผิดชอบผลของการกระทําเขาจากประชาชนแค่ 4 ปีครั้ง ทําให้เกิดวัฒนธรรมความไม่รับผิดชอบทางการเมือง
- ประชาชนมีส่วนร่วมกับการเมืองน้อย
- พึ่งพานักการเมืองมาก
การเมืองที่ใช้เทคโนโลยีมาdisrupt...
Pros
- Programmability - ใช้งบน้อยและมีประสิทธิภาพมาก
- สะท้อนเสียงของประชาชนได้ไว
- Decentralized - ไม่ต้องฝากความเชื่อไว้ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง เลยมีความน่าเชื่อถือมากกว่าระบบที่ centralized
- Transparency - ทุกคนสามารถเข้าไปดูธุรกรรมบน public ledger ได้
- ถ้าจัดระบบให้ตรงต่อหลักการของประชาธิปไตยก็สามารถ
- ตรึงอํานาจไว้ในมือของประชาชนได้
- ช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง
- ทําให้ประชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
Cons
- พึงพาเทคโนโลยี Highly Dependent on Technology
- เพราะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายจึงส่งผลกระทบกับเสภียรภาพและความมั่นคงทางโครงสร้างของรัฐได้ง่ายกว่า
- มีจุดอ่อนเดียวกับระบอบประชาธิปไตย แต่จุดอ่อนนั้นจะเห็นได้ชัดมากขึ้น เช่น
- การโหวตตามความนิยม ไม่ได้โหวตตามความถูกต้องเสมอ
สรุป Conclusion
เพียงแค่เรามีโครงสร้างและวิธีจัดการข้อมูลที่ดีการเมืองก็ดีได้ การใช้เครือข่าย blockchain เขามาจัดการเลือกตั้งก็จะเป็นจุดเริ่มต้น หรือ เป็น MVP ในการวางรากฐานโครงสร้างระบบประชาธิปไตยที่ใช้เทคโนโลยี blockchain หรือ Decentralized Democracy มันทําให้การเลือกตั้งไม่ต้องพึ่งพาองค์กรใดองค์กรหนึ่งและมีความเชื่อถือได้ในข้อมูลที่แสดงมากการระบบที่ใช้ที่มี single point of failure เมื่อเราสามารถโหวตผู้แทนราษฎรในเครือข่าย blockchain ได้ เราก็สามารถทําให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการเลือกผู้แทนของเขาได้ง่ายและไวขึ้น ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราเปลี่ยนให้ประชาชนสามารถเปลี่ยนโหวตของเขาได้ปีละครั้ง นักการเมืองก็จะต้องเกรงกลัวเสียงของประชาชนมาขึ้น และประชาชนก็จะเป็นคนขัดกรองคนที่จะมารับใช้เขา อันนี้คือขั้นตอนใช้ระบบ blockchain ที่ผมคิดว่าทําได้และขั้นตอนน้อยที่สุดแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ถ้าจะไปไกลว่านั้นระบบblockchain นี้ก็ยังสามารถขยายได้ถึง การทําประชามติในการเลือกองค์กรอิสระ การเสนอ ร่าง ถกเถียง และ ลงเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายและรัฐธรรมนูณ จนไปถึงการตรวจสอบเส้นทางการเงินของภาษีประชาชนผ่าน public leger บนเครือข่าย blockchain นี้เป็นสิ่งที่ทําได้เพื่อสร้างการเมืองที่ดี โปล่งใส มีประสิทธิภาพ และซื่อตรงต่อหลักประชาธิปไตย
References
https://cointelegraph.com/learn/what-is-a-dao
https://www3.weforum.org/docs/WEF_Decentralized_Autonomous_Organizations_Beyond_the_Hype_2022.pdf