เกิดมาเพื่ออะไร? คําตอบจากปรัชณาสาย Existentialism

206603 ศุภกร เลาหสงคราม

นักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychologist)


เราเกิดมาเพื่ออะไร และ อะไรคือความหมายของชีวิต ในระยะเวลามากกว่า 5 ปีในฐานะที่เป็นนักจิตวิทยาที่ได้ให้คําปรึกษาคนกว่า 1000 ชั่วโมงนี้ก็เป็นหนึ่งในคําถามที่หลายๆคนชอบ คําถามที่ว่า เราเกิดมาทําไมนั้นเป็นคําถามที่สําคัญมากต่อการใช้ชีวิต แต่สังคมกลับไม่ค่อยให้ความสําคัญกับมันเท่าที่ควร การศึกษาที่ใช้เวลาเรียนเป็น 20-30 ปีก็ไม่เคยเตรียมเราให้พร้อมสําหรับคําถามนี้ จนสุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็เป็นอาการสับสบชีวิตและลึกๆก็ยังมีความข้างขาใจกับชีวิตว่า สุดท้ายเราอยู่ไปเพื่ออะไร ซึ่งการที่เราไม่มีคําตอบ บางทีก็ทําให้ชีวิตรู้สึกไม่มีความหมายจนหมดกําลังใจในการใช้ชีวิตไปเลยก็มี นี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมสร้างมหาลัยชีวิต เพื่อมาช่วยตอบคําถามที่สําคัญที่สุดในชีวิต ดังนั้นวันนี้เราก็จะมาศึกษาอย่างจริงจังเพื่อหาคําตอบว่า มนุษย์เราเกิดมาเพื่ออะไร

Existentialism

เมื่อเราเริ่มศึกษาเรื่องความหมายของชีวิตและจุดประสงค์ของชีวิต ศาสตร์ทางปรัชญาที่ใครก็หนีไม่พ้นนั้นก็คือ แนวคิดที่มีชื่อว่า “Existentialism” หรือในภาษาไทยเรียกันว่า “อัตถิภาวนิยม” โดย concept หลักๆของ Existentialism จะแบงเป็นสองส่วนก็คือ 1) ชีวิตนั้นไม่ได้มีความหมายอะไรในตัวของมันเอง ทุกคนต่างเกิดด้วยความไม่รู้ ไม่รู้ว่าเกิดมาเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าต้องทําอะไรกับชีวิต ซึ่งเพราะเหตุผลนี้ ก็ทําให้มนุษย์ต้องเผชิญหน้าการความชีวิตที่ไม่มีคู่มือมาว่าต้องใช้อย่างไร นอกจากสัญชาตญาณในการเอาตัวรองเช่น การกิน นอน มีบ้านอยู่ แล้วสืบพันธ์ุ หรือในศาสตร์นี้เรียกว่า “The Absurdity of Life” หรือความไร้ความหมายของชีวิต

ซึ่งส่วนที่สองที่ตามมา ของปรัชญาแนว Existentialism ก็คือการที่มนุษย์แต่ละคนนั้นมีหน้าที่ในการหาความหมายให้กับชีวิตของตัวเอง ตามที่นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส Jean-Paul Sartre ผู้ที่พลักดันความคิดนี้ เคยพูดว่า:

“Man first of all exists, encounters himself, surges up in the world — and defines himself afterwards.”

Jean-Paul Sartre

ซึ่งก็แปลสั่นๆได้ว่ามนุษย์เราเกิดมาก่อนแล้วจึงมาหาความหมายที่หลัง ซึ่ง “ความหมาย” นี้ก็ไม่ได้มีความจํากัดความว่าจะต้องเป็นอะไร มันแล้วแต่ว่ามนุษย์แต่ละคนว่าจะออกแบบและให้มันมีความหมายอย่างไร ดังนั้น สําหรับนักปรัชญาสาย Existentialism แล้ว มันไม่ผิดอะไรที่มนูษย์จะมองความหมายของชีวิตไม่เหมือนกัน แต่สิ่งผิดก็คือการที่เรานะทิ้งหน้าที่ของเราที่มีต่อชีวิตที่จะให้ความหมาายกับมัน

เรามักบ่นว่า เราไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร เรารู้สึกว่าชีวิตเรานั้นไม่มีความหมาย เรามักโทษชีวิตว่าทําไมมันไม่มีความหมาย พูดเหมือนกับว่ามันเป็นความผิดของชีวิตที่ทําให้เราต้องตกอยู่ในสภาพแบบนี้ แต่ในความจริงแล้ว คําตอบที่ว่าเราเกิดมาทําไม ไม่ใช้สิ่งที่เราจะไปหวังได้จากชีวิต มันไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถรออยู่เฉยๆแล้ววันหนึ่งชีวิตจะเจอคําตอบของมันเอง ความรับผิดชอบในการหาความหมายให้กับชีวิตมันอยู่ที่เราต่างหาก เรามีหน้าที่ในการหาคําตอบและความหมายให้กับชีวิต นี้คือคําคอบที่ปรัชญาสาย existentialism ได้ให้ไว้กับเรา ตามที่ Viktor Frankl หนึ่งในนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เคยพูดว่า:

“The meaning of life is to give life meaning.”

Viktor Frankl

หรือแปลง่ายๆว่า ความหมายของชีวิตก็คือความหมายที่เราให้กับมัน

ก่อนที่เราจะโทษชีวิตว่าทําไมชีวิตไม่ได้ให้ความหมายกับเรา ก่อนที่เราจะยอมแพ้ต่อต่านหรือหงุดหงิดกับความไร้ความหมายของชีวิต สิ่งที่เราควรถามมากกว่าก็คือ แล้วเราได้ทําหน้าที่ในการให้ความหมายกับชีวิตของเราหรือยัง? ซึ่งคําตอบมันน่าเบื่อ เช่น เราอยู่ไปวันๆเพื่อทนทุกข์ทรมาน ความหมายของชีวิตก็คือการทนทุกข์ทรมาน หรือว่าถ้าคําตอบในการใช้ชีวิตของเราสวยงาม เช่นการอยู่เพื่อรักผู้อื่น มันก็ทําให้ชีวิตเราสวยงามตาม ซึ่งในคลิปต่อไปเราก็จะมาทําหน้าที่ในการหาความหมายชีวิตให้กับชีวิตของเรา โดยการใช้วิธีการเรียนรู้ที่ง่ายและไวที่สุดนั้นก็คือการไปศึกษาคําตอบของคนอื่น ว่าบุคคลเช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หรือ พระพุทธเจ้า นั้นได้ให้คําตอบอย่างไรกับคําถามที่ว่า “เกิดมาเพื่ออะไร”

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง