ซึมเศร้า
อาหารของความเศร้าคือการที่เรายอมแพ้ต่อความเศร้า
อาการของโรคซึมเศร้า
- หมดกําลังใจที่จะใช้ชีวิต
- รู้สึกหมดหวังกับชีวิต
- ไม่อยากทําอะไรทั้งสิ้น
- ไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร
- ไม่อยากตื่นนอน
- ไม่รู้จะทําอะไรกับชีวิต
- เบื่อชีวิต
- ยอมแพ้ต่อชีวิต
- หมดแรง เฉื่อย
- นอนไม่หลับ หรือไม่ก็นอนมากเกิน
- เกรียดตัวเองและชีวิตตัวเอง
- น้อยใจชีวิต
- ไม่ชอบชีวิตที่เป็นอยู่
- ผิดหวังในตัวเองและชีวิต
- รู้สึกชีวิตตัวเองไม่มีความหมาย
- หนีการเข้าสังคม
- โมงโลกและชีวิตตัวเองในแง่ลบ
- ต่อว่าและดูดถูกต้วเอง
- รุนแรงต่อตัวเอง
- มีความคิดแบบตายตัว (fixed mindset) ว่าทุกสิ่งไม่ดีและเราทําอะไรไม่ได้
- มองทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิตในแง่ลบมากเกินไป
- รู้สึกไม่มีอํานาจอะไรในการกําหนดและเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตของตัวเอง (helplessness)
- ไม่มั่นใจในตัวเอง
- ไม่เชื่อในตัวเอง
- รู้สึกเหมือนชีวิตติดอยู่กับที่
- มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
มองอาการซึมเศร้าให้เป็นระบบ
ชีวิตคนเรานี้ก็เหมือนรถยนต์ และอาการซึมเศร้านี้ก็เหมือนอาการที่แสดงว่ารถเรานั้นมีปัญหา แต่การจะซ้อมรถได้บางทีมันต้องซ้อมหลายจุด เราไม่สามารถซ้อมจุดเดียวแล้วจะหวังได้ว่ามันจะหาย เช่น อาการหมดแรงนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องของร่างกายและสุขภาพ อาการคิดลบนี้ก็เป็นเรื่องของความคิด อาการเกรียดตัวเองนี้ก็อาจจะมาจากนิสัย อาการไม่อยากใช้ชีวิตนี้ก็อาจจะเป็นของmindset ซึ่งเมื่อมองเป็นระบบแล้ว ก็จะต้องแก้ทุกจุดจะแก้จุดใดจุดหนึ่งแล้วหวังผลไม่ได้
เราเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ทุกคนสามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้ เหมือนเราเป็นหวัด แต่ว่าความแตกต่างนั้นมันขึ้นอยู่ที่ดีกรีหรือว่าความรุนแรงของอาการ เช่นบางคนเป็นแต่ยังทํางานได้เรียนหนังสือได้ อย่างนี้ก็ยังไม่ถือว่าหนักมาก อาจจะไม่จําเป็นต้องไปหานักจิตวิทยา แต่ว่าถ้าเป็นนาน และอาการหนัก เช่น นอนอย่างเดียว ไม่ออกจากห้อง เริ่มมีความคิดฆ่าตัวตายบ่อยๆ และ ไม่มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น ก็จําเป็นต้องพบผู้เชียวชาญ
เหตุของโรคซึมเศร้า
- มองโลกในแง่ลบ จนไม่เห็นสิ่งดีในชีวิต
- มีนิสัยที่มักจะทับถมและมองตัวเองในแง่ลบเป็นนิสัย
- ผิดหวังในตัวเองและชีวิต
- ไม่ได้ใช้ชีวิตในแบบที่อยากใช้ในระยะเวลานาน
- รุนแรงกับตัวเอง
- ไม่ได้ทําในสิ่งที่ควรทํา
- หมดความมั่นใจในตัวเอง
- ยอมแพ้ต่อชีวิต
- มีความเชื่อที่ตายตัวว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองได้ เช่น เราทําอะไรไปก็ไม่ประสบความสําเร็จ หรือทําไปก็ไม่มีใครชื่นชมในผลงาน
- ยอมแพ้ต่อชีวิตและโชคชะตา
- มองตัวเองเป็นเหยือ
- พึ่งพาคนอื่นและสิ่งอื่นเพื่อเอาตัวเองออกจากอาการซึมเศร้า เช่น รอให้คนอื่นมาช่วย
แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า
รับผิดชอบชีวิตของเราเอง เพราะไม่มีใครช่วยเราได้ถ้าเราไม่ช่วยตัวเอง
การรับผิดชอบต่อความรู้สึกของตัวเองช่วยเรื่อง...
- เลิกโทษสิ่งภายนอกและปลุกให้เราเห็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเราในการจัดการความรู้สึกของเราเอง
ไม่มีใครช่วยเราออกจากภาวะซึมเศร้าได้ ถ้าเราไม่เอาตัวเองออกมา ยิ่งเราโทษชีวิต โทษชะตาชีวิต โทษสิ่งภายนอก โทษคนอื่น ที่ทําให้เรามีอาการซึมเศร้ามากเท่าไร เราก็ยิ่งไม่รับผิดชอบในความรู้สึกของเราเองมากเท่านั้น ถ้าเรามัววาดภาพตัวเองเป็นเหยือ เป็นคนที่ถูกกระทํา มันก็เหมือนเราพลักความรับผิดชอบของความรู้สึกเราเองไปให้คนอื่น
คนอื่นจะมาทําอะไรไม่ดีกับเรา อันนั้นหน้าที่เขา แต่เมื่อเขาทําเราแล้ว ความรู้สึกที่เรามีต่อมัน อันนี้ความรับผิดชอบเรา เพราะเราเองเท่านั้นที่จะจัดการกับความรู้สึกของตัวเองได้ ถ้าเราไม่มีความสุข ใครจะมาสั่ง มาขอร้องให้เรามีความสุข ก็ทําให้ไม่ได้
ดังนั้นจะขั้นแรกของการรักษาอาการซึมเศร้า เราก็ต้อง 1) เลิกโทษสิ่งอื่น และ 2) รับผิดชอบในความรู้สึกของเราเอง 100 เปอร์เซ็น เอาอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบต่ออารมณ์ของเรากลับมา
ยอมรับในสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เราเปลี่ยนได้
การเปลี่ยนเรื่องที่เปลี่ยนได้และปล่อยวางเรื่องที่เปลี่ยนไม่ได้ช่วยเรื่อง...
- รักษาแก่นของโรคซึมเศร้านั้นก็คืออาการ helplessness หรือ อาการที่เราเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตเราไม่ได้ ให้กลับมามีความเชื่อว่ามีอะไรที่เรายังทําได้เปลี่ยนได้ เป็นการสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองให้กลับมา
- เปลี่ยนทัศนคติที่ทําให้เราติดอยู่กับที่ ให้เราเดินหน้าต่อไปได้
เราซีมเศร้าเพราะเราอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ลักษณะที่ตามมา ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการที่เห็นชัดที่สุดของคนที่มีอาการซึมเศร้า นั้นก็คือความรู้สึกที่ว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในชีวิต หรือศัพท์ทางจิตวิทยาเรียกว่า "Helplessness" อาการเช่นนี้ทําให้เรารู้สึกหมดหวัง หมดแรง ไม่มีกําลังใจ แล้วก็ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต ซึ่งมันก็แน่นอนอยู่แล้วถ้าเราอยากได้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และไม่ทําสิ่งที่เป็นไปได้
วิธีแก้ก็ต้องเริ่มจากการแยกแยะให้ได้ว่าเรากําลังทําที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่ไหม และสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงได้ที่เรายังไม่ทํานั้นคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น เราอยากประสบความสําเร็จ แต่ว่าเรามัวจมอยู่กับความล้มเหว ก็เลยไม่ลงมือทําหรือทํามันอย่างจริงจังสักที เราไปอยากได้ความสําเร็จ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่ทุกคนที่ประสบความสําเร็จ มันสิ่งที่ไม่เข้าใครออกใคร มีปัจจัยมากมาย และบางทีก็เป็นแค่โชค แต่เรากลับจมอยู่กับสิ่งนี้จนลืมสิ่งที่เราทําได้ไป เช่น การพัฒนาตัวเอง การสร้างกําลังใจให้ตัวเอง การหาความรู้ การลงมือทํา การก้าวไปทีละก้าว ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทําได้ในทุกๆวันแต่เรากลับมองข้ามและจมอยู่กับความผิดหวัง
อีกตัวอย่างก็คือการที่เราติดอยู่กับอดีตจนทิ้งและมองข้ามปัจจุบันและอนาคต มันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปมัวจมอยู่กับอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเราเปลี่ยนแปลงอะไรกับมันไม่ได้ สู้เอาเวลาไปทําสิ่งดีๆที่เราอยากทำให้เกิดประโยชน์กับเราในวันนี้ยังดีกว่า ดังคำพระพุทธเจ้าท่านเคยตร้สสอนว่า "บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง" คนเราใช้ชีวิตได้จริงๆเพียงแค่ในปัจจุบัน แต่ถ้าเรามัวเอาความทุกข์ของอดีตมาบดบังความสุขที่เราสามารถมีได้ในปัจจุบันก็เท่ากับว่าเราเสียโอกาสในการใช้ชีวิต หรือจะแปลอีกอย่างก็ได้ว่า เราเองไม่ได้ใช้ชีวิตเราเลย แต่ความเศร้าต่างหากที่ใช้ชีวิตของเรา พยายามคิดว่าทุกวันเป็นวันใหม่เสมอ และชีวิตเราก็เริ่มต้นใหม่ได้เสมอเช่นกัน อะไรที่เราทําพลาดไปเราก็อย่าเก็บเอามาคิด จงยกโทษให้ตัวเองโดยการแก้ไขและทําปัจจุบันให้ดีกว่าเดิม
การยอมรับในสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้นั้น ไม่ได้แปลว่าเรายอมแพ้ต่อมัน แต่มันแปลว่าเรามีจิตใจที่แข็งแกร่งมากพอที่เราจะยอมรับความจริงของมันได้ เพราะเมื่อเรายอมรับความจริงได้แล้วเราก็จะรู้สึกเป็นอิสระจากกับดักของความเศร้าทันที จําไว้เสมอว่า ความจริงไม่เคยทําให้เราเศร้า แต่การที่เราไม่ยอมรับความจริงต่างหากที่เป็นตัวทําให้เราเศร้า
เป็นมิตรที่ดีต่อตัวเอง
การเป็นมิตรที่ดีต่อตัวเองช่วยเรื่อง...
- ทัศนคติลบที่มีต่อตัวเองและโลกให้เป็นบวกมากขึ้น เพื่อทําให้เราเลิกทําร้ายตัวเองและเริ่มรักตัวเอง เลิกตัดพ้อตัวเองและเริ่มมาให้กําลังใจตัวเองมากขึ้น
บางครั้งเราไม่ได้เศร้าเพราะว่าใครทําอะไรเรา แต่เราเศร้าเพราะสิ่งที่เราไปทํากับตัวเอง ฉะนั้นวิธีการรักษาความเศร้าอย่างหนึ่งก็คือการเรียนรู้ที่จะเป็นมิตรที่ดีต่อตัวเอง ให้ความรัก ความเห็นใจ ความเข้าใจกับตัวเอง และให้อภัยตัวเองในสิ่งที่เราเคยทำผิดพลาด ถ้าเรารักตัวเองจริงเราจะไม่ปล่อยให้ตัวเองจมปลักอยู่กับความเศร้า เราจะต้องพยายามอย่างเต็มที่ที่จะไม่เก็บและถือความทุกข์นั้นเอาไว้ในใจเรา
สิ่งที่แย่ที่สุดเวลาเราเศร้า คือการซ้ำเติมตัวเองด้วยความ โกรธ เกลียด หรือ กดตัวเองให้จมลงไปในความเศร้ามากกว่าเดิม อันนี้คือเราไม่รักตัวเองและไม่ได้เป็นมิตรที่ดีต่อตัวเอง ฝึกใหม่ ฝึกที่จะอ่อนโยนกับตัวเองให้มากกว่านี้ แล้วอาการซึมเศร้าจะเบาบางลง
ฝึกมองโลกให้ตรงกับความจริง
การฝึกมองโลกให้ตรงกับความจริงช่วยเรื่อง...
- ลักษณะเด่นของอาการซึมเศร้าก็คือการมองโลกและชีวิตในแง่ลบเกินกว่าความจริง การฝึกเช่นนี้ก็เป็นการเตือนสติตัวเองให้กลับมาสู่ความจริง เพราะว่าชีวิตเราไม่ได้มีแต่เรื่องแย่ แต่ก็มีเรื่องดีเหมือนกัน มันแค่ขึ้นอยู่กับว่าเรามองอะไรอยู่
ชีวิตจะดีหรือจะร้ายนั้นขึ้นอยู่กับว่าเรามองชีวิตเราอย่างไร บางคนที่เจอความลําบากในชีวิตมากกลับสามารถมีความสุขได้มากกว่าคนบางคนที่มีทุกอย่างเพรียบพร้อมแต่กลับยังอมทุกข์อยู่ เหตุผลก็เพราะว่า ความเศร้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราเผชิญอะไรในชิวีตอยู่ แต่แท้จริงแล้วมันอยู่ที่ว่าเราเผชิญกับชีวิตอย่างไรต่างหาก
ตามสถิติขององค์การอนามัยโลก บอกว่าในปี 2018 มีคนมากว่า 820,000,000 บนโลกนี้มีอาการขาดสารอาหาร ลองเปรียบเทียบเรื่องนี้ดูกับชีวิตเราซิว่า วันนี้เรามีอาหารกินหรือไม่? เรายังมีคนที่รักเราไหม? เรายังมีร่างกายที่ครบสมบูรณ์ใช้งานได้ไหม? ถ้าคำตอบ คือ.. มี คือ.. ใช่ แล้วเรามีสิทธิไหมที่จะเศร้ากว่าคนที่เขาแย่กว่าเรา? แล้วเรามองโลกแต่แง่ลบเกินไปหรือเปล่า?
ชีวิตจะดีหรือร้ายบางที่มันขึ้นอยู่กับว่าเรากําลังมองอะไรในชีวิตเราอยู่ ชีวิตมีทั่งดีและแย่เป็นธรรมดา แต่ถ้าเห็นแต่เรื่องไม่ดีในชีวิตจากเรี่องดีๆที่เรามี แน่นอนเราชีวิตก็ต้องแย่แล้วเราก็ต้องรู้สึกซึมเศร้า เพราะสิ่งที่เราเห็นในชีวิตนั้นมีแต่เรื่องแย่ๆ แต่ถ้าเรามองเรื่องดีในชีวิตที่แย่ มองเพื่อเห็นว่า เรายังมีสิ่งที่ดีในชีวิตเราอีกมากมายที่เราอาจจะมองข้ามและควรจะดีใจไปกับมัน ชีวิตก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น ชีวิตมีดีมีเลวเป็นธรรมดา และคนที่มีอาการซึมเศร้าก็คือคนที่เก่งในการมองมุมแย่กว่ามุมดีเสมอ
สร้างแสงสว่างในความมืด
การรับผิดชอบต่อความรู้สึกของตัวเองช่วยเรื่อง...
- การทําให้ชีวิตเรานั้นเปลี่ยนจากอาการหมดกําลังใจในการใช้ชีวิต ให้ชีวิตนั้นมีค่าและมีความหมาย เป็นการจุดไฟในใจเราให้เราอยากจะอยู่ต่อไป
เราไม่สามารถชนะความมืดด้วยความมืด ต้องเอาชนะมันด้วยแสงสว่าง ชีวิตต้องมีสิ่งที่เราอยากอยู่เพื่อ ไม่อย่างนั้นมันก็มืดมนและไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร ฉะนั้นการรักษาก็คือ การสร้างแสงสว่างขึ้นมาในจิตใจ เพื่อให้ชีวิตนั้นมีความหวังมีเป้าหมายและมีความเชื่อใหม่ๆจนเรานั้นรู้สึกว่าเราอยากที่จะใช้ชีวิตต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ความดี ความรัก ความสวยงาม ความถูกต้อง การช่วยเหลือผู้อื่น ความสำเร็จ สิ่่งที่เรารู้สึกว่ามีค่ามากกับชีวิตเรา รวมถึง สิ่งที่เราชอบ บุคคลที่สําคัญในชีวิตเราที่เรานับถือและเคารพ หรือแม้แต่ความตายของเราเอง สิ่งพวกนี้ก็สามารถเป็นแสงสว่างเป็นแรงพลักดันให้เราอยากทําอะไรกับชีวิต อยากใช้ชีวิต
สําหรับคนที่ไฟยังมอดอยู่ หรือมีอาการ หมดไฟ อยู่ให้พยายามหาแรงบันดาลใจ และ หาสิ่งที่จะมาจุดไฟในใจเราให้มาก คิดถึงแสงสว่างในชีวิตของเราบ่อยๆ ขึ้นตอนนี้อาจจะใช้เวลามาก ไฟในใจเราอาจจะติดบ้างดับบ้างก็ไม่เป็นไร แต่ที่สําคัญก็คืออย่าหยุด อาการซึมเศร้านี้ก็เหมือนความมืดที่มาครอบครุมจิตใจเรา แต่การเอาความมืดออกก็ไม่ได้แปลว่าความมืดจะหายไป การเอาแสงสว่างมาเติมในชีวิตต่างหากที่ทําให้ความมืดหายไป ดังนั้น เพื่อสร้างแสงสว่างในความมืดในยามเราสิ้นหวัง เราก็ต้องหาแสงสว่างในชีวิตเราให้เจอ
ทําทุกวันให้มีความหมาย
การทําทุกวันให้มีความหมายช่วยเรื่อง...
- เปลี่ยนชีวิตที่ไม่มีความหมายให้มีความหมายด้วยการกระทําในทุกๆวัน เป็นการโชว์และพิสูจน์ให้ตัวเองเห็นว่าเราทําได้เราเปลี่ยนชีวิตเราได้
เวลาชีวิตมันเศร้า แน่นอน เราจะรู้สึกว่าชีวิตเราไม่มีความหมายเลย เพราะเหตุนี้เราต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าแล้วอะไรคือชีวิตที่มีความหมายสําหรับเรา? เราเกิดมาเพื่ออะไร? แล้วจะต้องใช้ชีวิตอย่างไรในทุกๆวันเพื่อให้เรารู้สึกว่าชีวิตนี้มีความหมาย? ความเศร้าจะเกิดไม่ได้ตราบเท่าที่ยังใช้ชีวิตในแบบที่ทําให้เรารู้สึกมีความหาย
การรักษาภาวะซึมเศร้าผ่านการใช้ชีวิตให้มีความหมาย มีอีกชื่อในทางจิตวิทยาว่า "Behavioral Activation" หรือว่าการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกผ่านการกระทํา ดังนั้นอย่ารอให้ความรู้สึกเราดีก่อนค่อยลุกไปทําอะไร บางทีการที่เราลุกไปทําอะไรที่ทําให้ชีวิตเรามีความหมาย ความรู้เช่นนั้นก็จะตามมาเอง
ซึ่มเศร้าหรือไม่อยู่ที่ใจสู้หรือใจจม
การปลุกใจให้สู้ช่วยเรื่อง...
- อาการยอมแพ้ต่อชีวิตให้กลับมาสู้ กลับมาเริ่มใหม่ กลับมาลองอีกครั้ง เพราะมันเป็นหลทางเดียวที่จะออกจากวงจรของ Downward Spiral ได้
อาการที่น่ากลัวที่สุดเวลาเรามีอาการซึมเศร้านั้นก็คืออาการวนลง หรือ downward spiral ยกตัวอย่างเช่น เรารู้สึกผิดหวังกับตัวเองที่เราสอบตก เราก็เลยยอมแพ้และเลิกอ่านหนังสือ ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้ พอเราไปสอบใหม่ เราก็ตกอีก แล้วเราก็กลับมารู้สึกผิดหวังกับตัวเองหนักกว่าเดิม แล้วเราก็ยอมแพ้ต่อชีวิตหนักกว่าเดิมอีกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ นี้คืออาการวนลง ที่ทําให้คนที่มีอาการซึมเศร้ามีอาการแย่ลงตลอด
ซึ่งจุดหัวเลี้ยวหัวต่อเดี่ยวที่ในวงจรนี้อยู่ที่ขณะที่เราเศร้านั้นเรารับมือมันอย่างไร เราจมไปกับมันหรือว่าเราไม่ยอมมัน เรายอมแพ้หรือว่าเราสู้ มันมีแค่นี้ เพราะเมื่อไหร่ที่ใจเราสู้แล้ว ชีวิตเราจะวนขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น เราสอบตก เราเสียใจ แต่เราไม่จมไปกับอารมณ์ เราสู้ เราก็อ่านหนังใหม่ให้ดีและมากกว่าเดิม พอไปสอบ เราทําได้ดี พอเราต้องไปสอบใหม่เราก็ เราก็มีกําลังใจ มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากกว่าเดิมทําให้เราสอบได้ดีกว่าเดิม
นี้คือการวนขึ้น มันเป็นหลทางเดียวที่จะเอาชนะอาการซึมเศร้าได้
สุขภาพควรมาก่อนทุกสิ่ง
การดูแลสุขภาพช่วยเรื่อง...
- อาการหมดแรง ให้กลับมามีแรงมากขึ้น
- ความเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตเราในทางที่ดีได้
- เปลี่ยนการเกรียดตัวเองเป็นรักตัวเอง
อาการอ่อนแรงและเฉื่อยเป็นอาการที่มักจะมาพร้อมกับความเศร้า ดังนั้นขั้นแรกในการรักษาความเศร้าก็คือ การดูแลสุขภาพของเราให้ดี ในความจริงแล้วคนทีมีความเศร้าหลายคนสามารถออกจากความเศร้าได้ เพียงแค่เขาตั้งใจมาดูแลสุขภาพตัวเอง ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้นแบบเบสิค ก็ได้แก่ การเริ่มออกกําลังกายอย่างจริงจัง การเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และ นอนหลับให้เพียงพอ มันอาจจะยากสําหรับคนที่ไม่เคยออกกําลังกาย หรือว่ามีความเฉื่อยอยู่แล้วเพราะอาการซึมเศร้า แต่ว่าถ้าเราทําจริงเราก็ได้ผลจริง ในฐานะนักจิตวิทยาผมก็เห็นคนแค่หันมาดูแลสุขภาพตัวเองนี้ก็ออกจากอาการซึมเศร้าได้มากมาย ดังนั้นมันขึ้นอยู่กับเราเองว่าจะทํามันจริงๆหรือไม่
ชีวิตมีทางออกเสมอ
การไม่เชื่อความคิดลบช่วยเรื่อง...
- การเปลี่ยนคิดแบบตายตัวหรือ fixed mindset ที่ปิดกันโอกาสในการเปลี่ยงแปลงชีวิตของเราให้มีอํานาจกับชีวิตเราน้อยลง
คนหลายคนที่ติดอยู่กับอาการซึมเศร้าก็เพราะมีความเชื่อที่ตายตัว ถ้าเราคิดว่าชีวิตเราไม่มีทางออก เราเปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้ มีเหตุผลมากมายมาหยุดตัวเอง เช่น เราเก่งไม่พอ เราแก่ไปแล้ว แบบนี้ ผลลัพธ์มันก็หนีไม่พ้นที่จะต้องรู้สึกหมดหวังและซึมเศร้าอย่างแน่นอน เพราะเราปิดกั้นตัวเองต้องแต่เริ่มแล้ว ทั้งๆที่เรายังไม่ได้ลงมือทําหรือลองหาทางออกอย่างจริงจัง ชีวิตมีทางออกเสมอถ้าเราเปิดใจกว้างพอ และให้การกระทํานําความคิด
ควรพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เมื่อ...
- ไม่มีทางออก
- อาการไม่ดีขึ้น
- พยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล
สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:
สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:
สามารถให้ความคิดเห็นให้ กําลังใจ และช่วยพัฒนาได้ที่:
ขอบคุณทุกความคิดเห็นและจะเอาไปพัฒนากล่องยาประจําใจครับ
สําหรับท่านที่อยากมีกล่องยาสามัญประจําใจไว้ที่บ้านหรือเป็นของฝากให้คนอื่นเมื่อกล่องยาประจําใจตีพิม สามารถติดต่อสั่งจองได้ที่:
แบบฟอร์มสั่งจองกล่องยาสามัญประจําใจ
หรือ
Line: @schooloflife
Line: @schooloflife
ตัวยาอาจจะใช้ได้กับบางคนแต่อาจจะไม่เหมาะกับบางคน โปรคใช้วิจรณญานและเลือกใช้ได้สิ่งที่เรารู้สึกว่าน่าจะใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
ด้อยค่า
เมื่อค่าที่เราให้กับตัวเองสําคัญกว่าค่าที่คนอื่นให้กับเรา เราจะไม่กลัวคําด่าหรือลอยไปตามคําชมของคนอื่น
#กล่องยาสามัญประจําใจ