ลังเล ไม่แน่ใจ

206603 ศุภกร เลาหสงคราม

นักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychologist)


ปัญหาของอาการลังแล ไม่แน่ใจ

  • ตัดสินใจอะไรไม่ได้ ไม่กล้าที่จะตัดสินใจ ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือใหญ่
  • พึ่งพาคนอื่นในการช่วยตัดสินใจ
  • ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง เพราะไม่แน่ใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น ความสามารถของตัวเอง หรือค่าของตัวเอง
  • มักคิดว่าตัวเองดีไม่พอ หรือยังมีอะไรบางอย่างที่อาจจะดีไม่พอ เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองดีพอหรือยัง
  • เอาค่าของตัวเองไปผูกกันคนอื่น
  • หาค่าของตัวเองจากคนอื่นเสมอ (seek external validation)
  • ค่าของตัวเองมักขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก เช่น คําพูดของคนอื่น
  • ง่ายที่ยอมผู้อื่นอยู่เสมอๆแต่หลายๆครั่งการยอมนั้นกลับมาทําร้ายตัวเอง
  • วางใจกับอะไรไม่ได้ มีความไม่เชื่อยืนพื่นกับทุกเรื่องที่เข้ามาในชีวิต
  • บางทีไม่เชื่อจนระแวงและกลัวไปก่อนอย่างไร้เหตุผล

แนวทางการรักษา

ฝึกที่จะตัดสินใจอะไรเอง

สิ่งที่ยากที่สุดสําหรับคนที่มีภาวะละเลไม่แน่ใจก็คือการที่ต้องตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง ยิ่งต้องตัดสินใจอะไรที่สําคัญและซับซ้อน ความกล้ว ความไม่แน่ใจ ความฟุ่งซ้าน ความรู้สึกต่างๆก็จะยิ่งเข้ามาทําให้เรายิ่งตัดสินใจยากเข้าไปอีก และที่แย่ไม่กว่านั้นต่อให้ตัดสินใจลงไปแล้ว ก็ยังกลับมาย้อนคิดอีกว่าการตัดสินใจนั้นอาจจะไม่ดี ซึ่งก็ก็คือการท่่เราไม่แน่ใจและลังเลในทุกอย่าง

การฝึกให้ตัวเองต้องตัดสินใจกับเรื่องง่ายๆในชีวิตประจําวัน ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมสําหรับเวลาที่เราจะต้องตัดสินใจอะไรที่ยากๆ ยกตัวอย่างเช่น ปกติเราเลือกที่จะกินอะไรไม่ได้สักที เราก็เลือกเองและเลือกให้ไวขึ้น ปกติเราให้คนอื่นตัดสินใจแทนเรา เราก็เลิกและฝึกที่จะตัดสินใจด้วยตัวเองบาง สิ่งพวกนี้แม่ดูเล็กน้อยแต่ก็เต็มไปด้วยปัญหาและบทเรียนที่สําคัญ เช่น การยอมรับกับการตัดสินใจของเราที่ผิด การที่เราต้องตัดสินใจอะไรบางอย่างทั้งๆที่เราก็ไม่ได้รู้ทุกอย่าง การเผชิญหน้ากับความกลัวที่จะต้องตัดสินใจที่ผิด หาความมั่นคงในการตัดสินใจของเราเองแทนที่จะไม่แน่ใจหรือหวั่นไหวไปกับการตัดสินใจของเราโดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาหรือแนวโน้มที่ไม่ดี การจัดการกับความฟุ่งซ้านทั้งก่อนและหลังการตัดสินใจ บทเรียนพวกนี้มีไม่ได้หากเราไม่ฝึกที่จะตัดสินใจ การฝึกเช่นสําคัญ และก็เป็นวิธีเดียวที่เราจะสามารถเปลี่ยนตัวเราเองจากเป็นคนที่ลังเลมีความมั่นใจเป็นคนที่ตัดสินใจได้ดีเก่งและหนักแน่นขึ้น

ตัดสินใจอะไรไปแล้ว อย่ามองหลัง

คนที่ไม่แน่ใจในตัวเองมักรู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่ตัวเองตัดสินใจลงไปแล้ว ต่อให้การตัดสินใจนั้นจะดีหรือถูกต้องแล้วก็ตาม ก็จะหาเรื่องสร้างความไม่แน่ใจความน่าสงสัยและความบกพร่องให้มันได้อยู่เสมอ นี้ก็เพราะเราคุ้นชินที่จะตั้งข้อสงสัยกับทุกสิ่ง หรือจะพูดอีกแบบก็ได้ว่าเราคุ้นชินที่จะมองย้อนกลับหลัง

จะรักษาอาการลังเลแบบนี้ได้ก็ต้องฝึกที่จะเป็นคนที่เด็ดขาดกับการตัดสินใจของตัวเอง เมื่อตัดสินใจอะไรไปแล้ว ก็อยู่กับมันอย่างหนักแน่น ไม่ว่าผลจะออกมาดีหรือร้าย ไม่ว่าเราจะตัดสินใจถูกหรือผิด ไม่ว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร เราก็จะไม่มองย้อนหลัง มีแต่จะเดินหน้าไปพร้อมกับมัน

ในชีวิตของคนเราก็มีการตัดสินใจเช่นนี้มากมาย เช่น เมื่อเราต้องเลือกคณะที่จะเรียนแล้วหลังจากจบเราก็ต้องอยู่กับการตัดสินนั้นตลอดชีวิตให้ดีที่สุด หรือการที่เราเลือกไปแล้วที่จะแต่งงานกับคนนี้ เราก็ต้องรักเขาให้ดีที่สุด

ถ้าเราลังเลในการตัดสินใจของเรา ความลังเลนี้ก็จะเริ่มทําให้เราตั้งคําถาม และเมื่อตั้งคําถามมากเข้า จากที่เราไม่ได้คิดอะไร มีความหนักแน่นในการตัดสินใจ ตอนนี้ก็เริ่มลังเลสงสัยเริ่มไม่แน่ใจ จนสุดท้ายเราก็สรุปเองว่า "ใช้แล้วฉันตัดสินใจผิด" การทําแบบนี้เขาเรียกในภาษาทางจิตวิทยาว่า "self-fulfilling prophecy" หรือ ความจริงที่เกิดขึ้นจากความเชื่อของเราเองที่ส่งผลกระทบจนความเชื่อนั้นกลายเป็นจริง เช่นในกรณีนี้ ความลังเลไม่แน่ใจนี้ก็เป็นตัวการที่พลักดันและโน้มน้าวให้ในที่สุดเราเห็นและสรุปกับตัวเองตามความเชื่อว่า การตัดสินใจของเรานั้นผิด

ซึ่งสําหรับคนที่ลังเล ต่อให้เรากร่อมตัวเองจนตัวเองเชื่อว่าเราตัดสินใจผิดก็ตาม ก็ยังเอาข้อสรุปนี้ที่ว่านี้ไปลังเลต่ออีกทีว่า หรือว่าการตัดสินใจเรามันดีและถูกอยู่แล้ว และการที่เราไปสรุปว่ามันผิดนั้นแหละที่ผิด อย่างนี้ไปเรื่อยๆอย่างไม่มีที่จบ

นี้คือความน่ากลัวของอาการลังเลและความจําเป็นที่จะไม่มองย้อนกลับไปตั้งคําถามการตัดสินใจที่ผ่านไปแล้ว เพราะถ้าเอาเข้าจริงคนเราสามารถมองย้อนกลับไปตั้งคําถามกับการตัดสินใจของเราได้ทุกอัน ถ้าเราเลือกที่จะทําแบบนั้น แต่มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร การทําเช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการขุดศพขึ้นมาจากป่าช้า บางที่สิ่งที่ตายไปและจบไปแล้ว แต่เรากลับมองย้อนหลังและขุมมันขึ้นมาใหม่

มันไม่มีการตัดสินใจไหนที่ถูกทั้งหมดหรือผิดทั้งหมด มันมีแต่การตัดสินใจที่เรายอมรับได้หรือไม่ได้

ทุกการตัดสินใจมีข้อดีและข้อเสีย ต่อให้เราจะคิดว่าเราตัดสินใจดีขนาดไหน หากเราพยายามที่จะหาข้อเสียของมัน ไม่นานเราก็จะเจอมัน ในทางตรงกันข้าม ต่อให้เราตัดสินใจผิด แต่หากว่าเราพยายามมองหาข้อดีของมัน ไม่นานเข้าเราก็จะเห็นข้อดีของมันเช่นกัน นี้ก็เพราะว่าทุกการตัดสินใจมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แอบแฝงอยู่เสมอ

ซึ่งสําหรับคนที่ลังเลสงสัยแล้ว การที่ทุกการตัดสินมีลักษณะที่ไม่ได้ดีหรือแย่โดยสมบุรณ์ก็ยิ่งทําให้เราตัดสินใจไม่ได้ สับสน และมากไปกว่านั้น ยิ่งเราค้นหาข้อมูลมากเท่าไหร เรายิ่งค้นพบข้อดีและข้อเสียมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งข้อมูลพวกนี้บางทีก็ไม่ได้ช่วยให้ตัดสินใจง่ายขึ้น แต่ยิ่งกลับทําให้ตัดสินใจไม่ได้มากกว่าเดิม

วิธีรักษาก็คือการที่เราต้องเข้าใจและยอมรับว่ามันไม่มีการตัดสินใจไหนที่สมบูรณ์แบบ มันมีแต่การตัดสินใจที่เรายอมรับข้อดีและข้อเสียของมันได้เท่านั้น หรือจะพูดอีกแบบก็ได้ว่า การตัดสินใจที่สมบูร์แบบก็คือการตัดสินใจเรายอมรับผลลัพธ์ของมันได้อย่างสนิดใจ ต่อให้ผลลัพธ์เราจะทราบหรือไม่ทราบก็ตาม เราพร้อมที่จะรับผิดชอบและอยู่กับมันอย่างดีที่สุด

มีหลักให้กับชีวิตของตัวเอง

เมื่อเราเป็นคนที่ลังเลและไม่แน่ใจมันง่ายกว่ามากที่จะฝากความเชื่อมันไว้กับคนอื่นหรือสิ่งอื่น ซึ่งการทําเช่นนี้ดูผิวเผินอาจจะไม่ผิดอะไรมาก แต่เมื่อเราทําแบบนี้จนเป็นนิสัย สิ่งที่เรากําลังทํากับตัวเองก็คือ เรากําลังปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองฝึกที่จะเชื่อใจในตัวเอง เมื่อเราไม่เคยตัดสินใจด้วยตัวเอง เราก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะลองเชื่อใจตัวเอง ซึ่งเมื่อเราไม่เคยลองเชื่อมั่นในตัวเองแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะมีความมั่นใจอะไรในตัวเองได้ เพราะมันไม่เคยมีหลักฐานใดๆ สุดท้ายเราจะกลายเป็นคนที่พึ่งพาคนอื่นหรือสิ่งอื่นอยู่เสมอ ชีวิตของเราเองนั้นก็จะหมุนรอบตัวคนอื่น จะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับคนหรือสิ่งอื่นภายนอกตัวที่มาชี้วัดชีวิตของเราเอง

สิ่งที่เราต้องทําก็คือการสร้างหลักให้กับจิตใจของเรา จากที่เราไม่รู้จะเชื่ออะไร เราก็ต้องเชื่ออะไรบางอย่าง จากที่หลักของชีวิตเราคือคนหรือสิ่งอื่น ก็พยายามย้อนกลับมาถามตัวเองบางว่าจริงๆแล้วเราต้องการอะไร และจุดยืนเราอยู่ตรงไหน มากกว่าที่จะไปพึ่งพาคนหรือสิ่งอื่น

อย่างไรก็ต่าง นี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรที่จะพึ่งพาหรือไม่เชื่อผู้อื่นเลย สิ่งที่เราควรทําก็คือหาจุดที่พอดี ฟังความคิดเห็นของคนอื่นบางแต่ก็ไม่ถึงกับพึ่งพาหรือเชื่อไปทุกอย่าง เชื่อในสิ่งที่ตัวเองทําหรือตัดสินใจบ้างแต่ก็ไม่ถึงกับหลงตัวเองจนไม่ให้ค่าความคิดเห็นคนอื่น

วิธีฝึกปฎิบัติ

  • ฝึกที่จะตัดสินใจอะไรเองในทุกๆเรื่อง เริ่มต้องแต่เรื่องเล็กน้อยจนไปถึงเรื่องสําคัญในชีวิต ฟังความคิดเห็นของคนอื่นได้แต่อย่าให้เขามาตัดสินใจแทนเรา
  • ตัดสินใจทั้งๆที่เราก็ไม่รู้ทุกอย่าง อยู่กับความไม่แน่นอนให้เป็น
  • เห็นความลังเล ความไม่แน่ใจ ความไม่เชื่อ เพื่อเตือนตัวเองอยู่เป็นประจํา
  • อย่าหนีจากการตัดสินใจอะไรบางอย่าง ให้ฝึกที่จะตัดสินใจอะไรเองให้มาก
  • พึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น หากอยู่คนเดียวได้ก็จะเป็นการฝึกอย่างดี
  • สร้างหลักหรือความเชื่ออะไรบ้างอย่างให้กับตัวเอง เพื่อเป็นฐานในการใช้ชีวิต
  • หากเราเริ่มตั้งคําถามกับการตัดสินใจของเรา ให้เตือนตัวเองเสมอว่ามันเป็นอดีตไปแล้ว และให้ทําปัจจุบันให้ดีที่สุด
  • หากตัดสินใจอะไรลงไปแล้ว อยู่กับมันให้เป็น อย่างมองย้อนกลับมาตั้งคําถาม หากมันไม่ได้มีประโยชน์อะไรแล้ว

ควรพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เมื่อ...

  1. ไม่มีทางออก
  2. อาการไม่ดีขึ้น
  3. พยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถให้ความคิดเห็นให้ กําลังใจ และช่วยพัฒนาได้ที่:

แบบฟอร์ม Feedback

ขอบคุณทุกความคิดเห็นและจะเอาไปพัฒนากล่องยาประจําใจครับ

สําหรับท่านที่อยากมีกล่องยาสามัญประจําใจไว้ที่บ้านหรือเป็นของฝากให้คนอื่นเมื่อกล่องยาประจําใจตีพิม สามารถติดต่อสั่งจองได้ที่:

แบบฟอร์มสั่งจองกล่องยาสามัญประจําใจ

หรือ

Line: @schooloflife

Line: @schooloflife

ตัวยาอาจจะใช้ได้กับบางคนแต่อาจจะไม่เหมาะกับบางคน โปรคใช้วิจรณญานและเลือกใช้ได้สิ่งที่เรารู้สึกว่าน่าจะใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง