รู้สึกผิด

อย่าเอาความผิดในอดีตมาทําลายหรือขัดขวางเราจากสิ่งดีๆที่เราเปลี่ยนแปลงได้ในปัจจุบัน

206603 ศุภกร เลาหสงคราม

นักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychologist)


กล้าที่จะยอมรับความผิด

การยอมรับความผิดของตัวเองได้คือบันไดขั้นแรกที่เราเริ่มการรักษาและเยียวยาความรู้สึกผิดของเรา คนที่ยังไม่ยอมรับความผิดของตัวเองได้มักจะมีอาการกระวนกระวาย มักจะสร้างข้ออ้างให้กับตัวเอง และหาเหตุผลสารพัดเพื่อมากล่อมว่าทําไมตัวเองถึงไม่ผิด แต่ถ้ามันไม่ใช่ความผิดของเขาจริง ทําไมต้องกระวนกระวายว่าตัวเองไม่ผิดด้วยล่ะ อาการเหล่านี้มักจะเกิดในคนที่ทำผิดแต่อยากจะให้คนอื่นคิดว่าเขาทำถูก เลยจําเป็นต้องต่อสู้, กลบเกลื่อน, หรือบิดเบือนความผิดของตัวเองก็เท่านั้น ความรู้สึกผิดก็เปรียบเหมือนงูที่กําลังรัดเรา ยิ่งเราดิ้นที่จะไม่ยอมรับความผิดมากเท่าไร งูก็ยิ่งรัดเรามากเท่านั้น ความรู้สึกนี้จะยิ่งกัดกินจิตใจและส่งผลกระทบต่อชีวิตเรามากขึ้น ดังนั้น ถ้าเราผิดจริง ก็เลิกเข้าข้างตัวเองและกล้าพอที่จะยอมรับความผิด ความกล้าที่จะยอมรับความผิดนี้จะทําให้เราเป็นอิสระจากบ่วงรัดและปลดปล่อยเราจากความกระวนกระวายที่เรามีอยู่ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญในการเผชิญหน้ากับความจริงเพื่อเป็นการรักษาและเยียวยาความรู้สึกผิด

อย่าผูกตัวเองไว้กับอดีต

อย่าเอาอดีตมาทําลายหรือขัดขวางการทำสิ่งดีๆเพื่อเปลี่ยนแปลงเราให้ดีได้ในปัจจุบัน เพราะต่อให้เรารู้สึกผิดมากเท่าไรเราก็ไม่สามารถย้อนอดีตกลับไปแก้ไขอะไรได้ แต่สิ่งที่เรายังพอแก้ได้ก็คือการทำตัวเราให้ดีในปัจจุบัน ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์อันไดที่เราจะไปจมอยู่กับความผิดที่เราแก้ไขไม่ได้โดยเก็บมันมาย้อนคิดเหมือนเอาเรื่องไม่ดีต่างๆมาทับถมตัวเองมากขึ้นทำให้เราให้เราทุกข์และรู้สึกผิดยิ่งกว่าเดิมอีก ฉะนั้น ผิดแล้วก็จงเรียนรู้จากมัน.. แก้ไขใหม่ เพื่อเป็นคนที่ดีกว่าเดิม

ไม่มีใครเกิดมาแล้วไม่เคยทําอะไรผิดพลาด

เราจะไปคาดหวังว่าตัวเองจะทําสิ่งที่ดีและถูกต้องตลอดไปไม่ได้เพราะเราคือมนุษย์ มนุษย์ที่ไม่เพอร์เฟค มนุษย์ที่ยังมีกิเลส มนุษย์ที่เกิดมายังไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ฉลาดหรือโง่ รวยหรือจน ไม่มีใครที่จะไม่เคยทำผิดพลาดในชีวิต แต่คําถามที่สําคัญที่สุดที่เราควรถามตัวเองนั้นก็คือ ผิดแล้วเราควรจะแก้ไขอย่างไร จะมัวจมอยู่กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น หรือว่าจะ เอามันมาเป็นแรงผลักดันให้ตัวเองเป็นคนที่ดีกว่าเดิม เมื่อเรามีความอยากที่จะแก้ไขตัวเองหรือทําตัวให้ดีกว่าเดิม เราจะไม่คิดเกลียดตัวเองจากความผิดอีกต่อไป เมื่อนั้นเราจะมีกำลังใจในการสามารถดึงตัวเองออกมาจากความรู้สึกผิดได้แน่นอน

ให้อภัยตัวเอง

เมื่อเราทำผิด จะไม่มีใครทําให้เราหายจากความรู้สึกผิดได้นอกจากตัวเราเอง เมื่อผิด สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือต้องให้อภัยตัวเองก่อน เพราะต่อให้คนที่เราทําผิดต่อเขา เขายกโทษให้เราแล้ว ทั้งไม่ได้คิดหรือถือสาอะไรแล้ว แต่เรากลับยังไม่ยอมให้อภัยตัวเราเองความรู้สึกผิดก็จะอยู่กับเราไม่หายไปไหน หลายครั้งคนที่เกลียดเรามากที่สุดก็คือตัวเราเอง แล้วเราจะทำเช่นนั้นเพื่อ.. เราทําร้ายตัวเองยังไม่พอหรือ? มันถึงเวลาแล้ว ..ที่เราจะต้องปลดปล่อยตัวเองออกจากห้องกุมขังนี้ที่เราเรียกมันว่า ..ความรู้สึกผิด ถ้าเรารักตัวเองจริง เราควรจะเลิกจมอยู่กับความผิดพลาด เราควรจะเลือกหาวิธีแก้ไขตัวเองและไถ่โทษให้ตัวเองจนเราสามารถให้อภัยตัวเองได้สําเร็จ เพื่อหนทางไปสู่ความเป็นอิสระจากความรู้สึกผิด

การทําความดีในปัจจุบันคือการไถ่โทษที่ดีที่สุด

ใช่ ..เราไม่สามารถที่จะย้อนเวลากลับไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วได้ และใช่..การทําความดีก็ไม่สามารถหักล้างความผิดที่เราได้ทําลงไปแล้วได้ แต่มันก็ไม่ได้แปลว่าเราจะหมดหนทางหรือแก้ไขสิ่งที่ผิดแล้วไม่ได้ และสื่งที่เราสามารถทำได้ก็คือการทำตัวเราให้ดีขึ้นเพื่อเป็นการชดเชยและไถ่โทษให้กับตัวเอง ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือการพยายามเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตัวเองในปัจุบันให้ดีขึ้นเท่าที่จะทำได้ อะไรเกิดขึ้นแล้วก็ควรยอมรับแต่อย่าเอาอดีตที่แย่มาบดบังความคิดดีๆที่เราเป็นอยู่ซึ่งสามารถสร้างใหมให้ดีในปัจจุบันได้

ดีแล้วที่รู้สึกผิด

ทําไมความรู้สึกผิดถึงเป็นเรื่องที่ดี? ดีเพราะว่ามันแสดงให้เห็นว่าลึกๆแล้วเรายังอยากที่จะดีกว่านี้ ถ้าเราไม่รู้สึกผิดเลยก็แปลว่าเราไม่ได้แคร์ว่าตัวเราจะเป็นคนอย่างไร แต่นี้เราแคร์ เพราะเราอยากให้มันดีกว่านี้ จริงๆ แล้วก็ยังมีคนอีกมากมายที่ทําอะไรที่แย่กว่าเราอีก เช่น การฆ่าคน การโกงกินประเทศชาติ คนพวกนี้ยังทําไปโดยไม่มีรู้สึกผิดอะไรเลย แต่สำหรับเรานั้นเมื่อทำผิดไปแล้วอย่างน้อยเราก็ยังมีความรับรู้ผิดชอบชั่วดี ยังมีจิตสํานึกพอที่จะรู้สึกผิดและอยากแก้ไข เมื่อรู้แล้วว่าอะไรคือดีอะไรคือไม่ดีก็เราก็อย่ามัวจมอยู่กับความรู้สึกผิด ต้องคิดใหม่ทําใหม่ให้ดีกว่าเดิม อะไรที่ไม่ดีก็ ลด..ละ..เลิก นี้คือการเปลี่ยนความรู้สึกผิดให้กลับมาเป็นกําลังใจเพื่อให้เราได้ชีวิตที่ดีกว่าเดิม แทนที่จะใช้มันเพื่อซํ่าเติมตัวเองให้จมอยู่กับความรู้สึกผิดตลอดไป

ความรู้สึกผิดมีได้แต่ต้องมีความอยากที่จะดีกว่าเดิมให้มากกว่า

มันง่ายมากที่คนเราจะจมอยู่กับความรู้สึกผิด ซึ่งถ้าเราไม่แก้ไขก็สามารถทําให้เรามีอาการซึมเศร้า หรือ เกลียดตัวเองได้ ซึ่งจุดหัวเลี้ยวหัวต่อมันอยู่แค่ว่าเราให้ความสําคัญกับความที่เรารู้สึกผิดหรือเราให้ความสําคัญกับความรู้สึกอยากที่จะดีกว่าเดิมมากกว่ากัน ถ้าเรายังคิดถึงแต่ความผิดของเราหรือว่าเราคิดอยู่แต่ว่าเราจะทําอย่างไรให้เราทำอะไรไม่ผิดเลยหรือให้ดีกว่าเดิม อันนี้จะทำให้เรายังติดภาพคนเดิมที่เราเป็นอยู่หรือเปล่า หรือว่าเราจดจ่อแต่ภาพคนที่เราอยากเป็นในอนาคต วนเวียนยู่แค่นี้ เมื่อใดที่ความรู้สึกผิดผุดขึ้นมา ต้องวางใจของเราให้จดจ่อกับความอยากทำดี มากกว่าทำสิ่งไม่ดีที่เราเคยทํา นี้เองจะเป็นวิธีรักษาความรู้สึกผิดอีกอย่างหนึ่งที่ควรฝึกและมีไว้ในใจเสมอ

ทุกวันคือชีวิตใหม่

เรื่องราวในอดีตย้อนกลับมาไม่ได้ ดังนั้นคนในอดีต กับคนในวันนี้นั้นก็เป็นคนละคนกัน คนที่ทําอะไรเมื่อวาน หรือ ทำเมื่อสิบปีที่แล้ว คนในอดีตคนนั้นไม่มีอยู่แล้ว มีแต่เราในวันนี้เท่านั้นที่เป็นเราและยังสามารถกําหนดและเลือกชีวิตตัวเองได้

แต่ปัญหาคือว่าเรามักเอาอดีต ปัจจุบัน และ อนาคตมารวมกันหมดเลย ยกตัวอย่างเช่น คนที่ผมเคยให้คําปรึกษาเขาอธิบายตัวเองว่า "เขาเป็นคนเทาๆ" เพียงเพราะอดีตเขาเคยทําเรื่องไม่ดีมาก่อน และเพราะเหตุนี้ เราเลยรู้สึกว่าชีวิตเขาได้แปดเปื้อนไปเรียบร้อยแล้ว และในปัจจุบันเขาก็ยังคงคิดว่าตลอดว่าต้วเองไม่เป็นคนดี รวมไปถึงอนาคตของเขาก็จะไม่สามารถเป็นคนดีอีกต่อไปได้

ถ้าชีวิตเป็นแบบนั้นจริงๆ ก็เท่ากับว่าคนที่เคยทําผิดเพียงครั้งเดียวก็ไม่มีสิทธิที่จะแก้ตัวอีกต่อไปอย่างนั้นหรือ และไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองอะไรได้อย่างนั้นหรือ แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย คนเรามีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ คนเลวก็สามารถเปลี่ยนเป็นคนดีได้ และคนดีก็กลับเป็นคนเลวได้เหมือนกัน ที่สําคัญคือ ตอนนี้เราเป็นอะไรในปัจจุบันล่ะ?

ดังนั้น เราต้องเลิกมองชีวิตตัวเองในอดีต และควรเริ่มเดูแลและใส่ใจตัวเองให้อยู่กับชีวิตปัจจุบัน เพราะทุกวันคือโอกาสอันมีค่า ทุกวันเป็นวันใหม่ ที่เราจะสามารถสร้างชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นให้กับตัวเองได้

ควรพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เมื่อ...

  1. ไม่มีทางออก
  2. อาการไม่ดีขึ้น
  3. พยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถให้ความคิดเห็นให้ กําลังใจ และช่วยพัฒนาได้ที่:

แบบฟอร์ม Feedback

ขอบคุณทุกความคิดเห็นและจะเอาไปพัฒนากล่องยาประจําใจครับ

สําหรับท่านที่อยากมีกล่องยาสามัญประจําใจไว้ที่บ้านหรือเป็นของฝากให้คนอื่นเมื่อกล่องยาประจําใจตีพิม สามารถติดต่อสั่งจองได้ที่:

แบบฟอร์มสั่งจองกล่องยาสามัญประจําใจ

หรือ

Line: @schooloflife

Line: @schooloflife

ตัวยาอาจจะใช้ได้กับบางคนแต่อาจจะไม่เหมาะกับบางคน โปรคใช้วิจรณญานและเลือกใช้ได้สิ่งที่เรารู้สึกว่าน่าจะใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Screen Shot 2566-06-13 at 22.08.16

ผิดหวัง

ความผิดหวังไม่สําคัญเท่าเราจัดการอย่างไรกับความผิดหวัง

#กล่องยาสามัญประจําใจ

Screen Shot 2566-05-31 at 15.40.42

เกลียดตัวเอง

อย่ามองแต่จุดด้อยจนลืมมองไม่เห็นจุดแข็งของตัวเอง

#กล่องยาสามัญประจําใจ

Screen Shot 2566-05-31 at 12.32.39

ซึมเศร้า

อาหารของความเศร้าคือการที่เรายอมแพ้ต่อความเศร้า

#กล่องยาสามัญประจําใจ