ไม่มีสมาธิ
จิตใจไม่สงบ
พุทธศาสนาได้ศึกษาเรื่องสมาธิมามากกว่า 2500 ปี และข้อสรุปสําหรับสิ่งที่ทําให้เราไม่มีสมาธิก็คือสิ่งที่เรียกว่า นิวรณ์ 5 หรือ 5 สิ่งที่รบกวนจิตใจเราทำให้เราไม่สามารถมีสมาธิได้ 5 สิ่งนี้ก็คืออาการของจิตที่ไม่อยากอยู่กับที่.. มีความดื้อ.. ไม่มีความพอใจที่จะมีสมาธิ.. มีความอยากออกไปอยู่ที่อื่นเสมอ ซึ่งจิตที่มีนิวรณ์นี้สามารถจูงเราไปได้ 5 ที่ คือ…
- ไปหาสิ่งที่ชอบ เช่นขณะทํางานอยู่แต่ใจไปคิดถึงเรื่องกินเรื่องเที่ยว หรือทํางานอยู่แล้วก็ขาดสติแอบไปเล่นมือถือไปท่องอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
- ไปหาสิ่งที่ไม่ชอบ เช่นคิดถึงคนที่เราไม่ชอบ หรือไปหมกมุ่นกับสิ่งที่ทําให้เราไม่สบายใจ
- ไปอยู่ในที่ ที่มีแต่สร้างสภาวะทำให้เราเกิดความขี้เกียจหรือเกิดความง่วง เช่นเจองานที่ยากเราก็คิดอยากไปเล่นเกมส์ดูหนังฟังเพลงแทนดีกว่าเพราะมันง่ายดี ในที่สุดเราก็ยอมแพ้ ..หมดกําลังใจ และอาจจะเลิกล้มการทำงานนั้นไปเลย
- ไปอยู่ในความฟุ้งซ่าน เช่นคิดวกวนไม่ที่สิ้นสุด
- ไปอยู่ในความไม่รู้ ไม่แน่ใจ เช่นงงอยู่กับความไม่รู้ ไม่แน่ใจว่าเราทํถูก หรือมาถูกทางหรือเปล่าเป็นต้น
ทั้งหมดนี้คือเหตุที่ทําให้จิตเราไม่สงบพอที่จะสามารถมีสมาธิได้
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อให้มีสมาธิ
ถ้าเราเอาตัวเองไปอยู่ในสวนสนุก
สภาพแวดล้อมที่ดีสามารถช่วยทําให้เรามีสมาธิได้โดยง่ายและสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีก็สามารถทําให้เราไม่มีสมาธิได้ไม่ว่าเราจะพยายามสักเท่าไร ทุกๆสิ่งภายนอกตัวเรานับว่าเป็นสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสถานที่.. คนรอบข้าง.. สิ่งของที่เราต้องปฏิสัมพันธ์ด้วย เสียง.. เวลา หรือ แม้แต่ อุณหภมิูหรือแสงสว่าง เราต้องฉลาดพอที่จะเข้าใจและจัดสรรปัจจัยเหล่านี้เพื่อทำให้เราสามารถมีสภาพแวดล้อมที่ทําสมาธิได้ง่าย ดังนั้น เราควรดูแลปัจจัยต่างๆเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีที่จะฃ่วยสนับสนุนทำให้เรามีสมาธิดีขึ้นได้ง่าย
ไม่มีแผนและระเบียบในชีวิต
ถ้าชีวิตเราไม่มีการวางแผนหรือระเบียบที่ชัดเจน นั่นก็คือเราได้เปิดช่องให้มีสิ่งมารบกวนชีวิตเรา จริงแล้ว เรามีสิทธที่จะทําอะไรตามแผนที่เราวางไว้ก่อนได้ ซึ่งดีกว่าเราไม่ได้วางแผน เช่น สมมุติว่าเราวางแผนไว้แล้วว่าเราจะอ่านหนังสือตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 9 โมง เราก็มีความพยายามที่จะตั้งใจอ่านหนังสือในระหว่างเวลานั้น แต่ถ้าเราไม่มีแผนเราก็จะสะเปะสะปะ อ่านก็ได้ไม่อ่านก็ได้ อ่านกี่นาทีก็ได้ จะไม่อ่านเลยก็ได้ การไม่มีแผนที่ดีจึงเป็นการเปิดช่องว่างให้สิ่งอื่นๆมารบกวน ..มาดึงเราออกจากการมีสมาธิ
ไม่มีความอดทนต่อสิ่งที่เข้ามารบกวน
เมื่อเราไม่มีแผนการในชีวิต สิ่งที่เกิดขึ้นก็คืออาการ “แก้ปัญหาเอาที่หน้างาน” หรือ การทําอะไรไปตามความรู้สึก ไม่มีใครอยากตื่นเช้า ไม่มีใครอยากลําบากทํางานหนัก เราชอบอะไรที่สนุก ง่าย และ สบาย เราไม่ชอบอะไรที่ยากลำบาก ไม่สนุกน่าเบื่อและเต็มไปด้วยปัญหา ซึ่งส่วนมากแล้วสิ่งที่เราต้องมีสมาธิด้วย ก็ได้แก่ การทํางาน..การเรียนหนังสือ ..หรือการสอบก็เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอันนี้ มันเลยง่ายที่จิตใจเราจะล้มเลิกและถูกจูงออกไปสู่สิ่งที่เราชอบและหนีจากสิ่งที่เราไม่ชอบ ซึ่งในที่สุดแล้วก็ทําให้เราไม่สามารถมีสมาธิได้ เพราะเราชอบจะทำอะไรตามใจตัวเอง
มีความคุ้นชินที่จะไม่มีสมาธิ
เมื่อเราคุ้นชินที่จะตามใจตัวเอง เราก็มักจะสร้างนิสัยที่จะตามใจตัวเองบ่อยๆ สมมุติว่าเวลาเราเจอปัญหาที่ยากระหว่างทํางาน และ ทุกครั้งเราแก้ปัญหาโดยการไปเล่นมือถือ หรือไปดูหนังฟังเพลง นี่คือคุณได้สร้างนิสัยที่จะทำให้คุณไม่มีสมาธิแล้ว แน่นอนเราก็จะเลือกอะไรที่ง่ายและคุ้นเคยกว่าและในที่สุดเราก็จะไม่มีสมาธิ ดังนั้น ควรพยายามระวังนิสัยความเคยชิน แล้วตั้งใจสร้างนิสัยใหม่ที่ช่วยให้เรามีสมาธิมากขึ้น
Overstimulated
Overstimulated แปลวว่า การที่เรามีสิ่งมากระตุ้นหรือรุมเร้ามากเกินไปในชีวิต ทําให้งานหรือสิ่งที่เราอยากทำนั้นไม่น่าสนใจขาดสมาธิ วิธีเข้าใจอีกก็คือ คําว่า dopamine overload หรือว่าเวลาที่สมองเรารู้สึกสนุกหรือว่าได้อะไรตามที่ต้องการมากเกินไป ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่เราจําเป็นจะต้องทํางานที่ยากลําบากหรืออ่านหนังสือที่น่าเบื่อแล้ว แต่สมองมันปฏิเสธว่าไม่อยากจะทําเพราะว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะ overstimulated แล้วมันไม่สนุก ดังนั้นต้องระมัดระวัง อะไรที่เราชอบแต่ถ้านำมาใช้ไม่เป็นก็มีผลเสีย
Treatment & Prevention ยารักษาและป้องกัน
เอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสมาธิได้ง่าย
สภาพแวดล้อมที่ดีสามารถทําให้เรามีสมาธิได้โดยที่เราไม่ต้องตั้งใจและสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีก็สามารถ ทําให้เราไม่มีสมาธิได้ไม่ว่าเราจะพยายามสักเท่าไร ทุกๆสิ่งภายนอกตัวเรานับว่าเป็นสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสถานที่.. คนรอบข้าง.. สิ่งของที่เราต้องปฏิสัมพันธ์ด้วย.. เสียง.. เวลา.. หรือ แม้แต่ อุณหภมิูหรือแสงสว่าง เราต้องฉลาดพอที่จะเข้าใจและจัดสรรปัจจัยเหล่านี้เพื่อที่เราจะสามารถมีสภาพแวดล้อมที่ทําสมาธิได้ง่าย สภาพแวดล้อมสําคัญกว่าที่เราคิดและเป็นสิ่งแรกที่เราควรพิจรณาเพราะมันง่ายที่จะเปลี่ยนแปลงที่สุด
ตัดสิ่งที่ทําให้เราไม่มีสมาธิออกจากชีวิต
ยุคนี้มีสิ่งรุมเร้ามากมายที่ทําให้เราไม่มีสมาธิ เรามีมือถือที่ติดตัวเราตลอด เราสามารถเสพสิ่งบันเทิงผ่านทางอินเทอร์เน็ทได้อย่างง่ายดาย และมีสิ่งอื่นๆอีกมากมายที่สนุกกว่าสิ่งที่เราจะต้องมีสมาธิด้วยเสมอ ดังนั้นส่วนหนึ่งของการมีสมาธิก็คือการตัดและควบคุมสิ่งรุมเร้าพวกนี้ เราอาจจะต้องลองดูในตัวเราเองว่ามีอะไรที่ดึงเราออกจากสมาธิ เช่นคนหลายคนติดละคร ติดเกมส์ ติดมือถือ ติดเพื่อน ติดสนุก หรือแม้แต่ติดสิ่งเสพติดมึนเมาเช่น สุรา เมื่อติดแล้วจิตใจเราก็มักจะมุ่งไปหาสิ่งพวกนี้เสมอๆทําให้เรามีสมาธิได้ยาก สิ่งพวกนี้ไม่ใช่ไม่ดีแต่เราต้องใช้มันให้เป็นประโยชน์เพื่อไม่ให้มันมีอํานาจเหนือเรา เพราะเมื่อไรที่มันสามารถมาจูงให้เราออกจากการมีสมาธิไปทํานู่นทํานี่ตามที่มันสั่งได้แล้วก็เท่ากับว่าเราแพ้มัน ให้ลองพิจราณาดูว่าตอนนี้เรามีสิ่งใดบ้างที่เราตัองตัดออกเพื่อสร้างพื้นฐานให้จิตใจเรามีอิสระที่จะทำให้เกิดมีสมาธิได้
ฉลาดในการวางกรอบให้กับตัวเอง
คนที่ฉลาดที่สุดอาจไม่ได้รู้วิธีควบคุมคนอื่นมากไปกว่าวิธีที่จะควบคุมตัวเอง ถ้าเรารู้ว่าจุดอ่อนของเราคือการเล่นมือถือเวลาเราจําเป็นต้องมีสมาธิเราอาจจะต้องเอามือถือไปไว้ที่อื่น ถ้าเรารู้ว่าเวลาเราทํางานบนคอมพิวเตอร์เราชอบแอบไปดูคลิปบนอินเทอร์เน็ตเราก็อาจจะไปไกลถึงขนาดติดตั้งappที่ห้ามเราเข้าเว็บพวกนี้ระหว่างทํางาน ถ้าเราทํางานไปฟังเพลงไปแล้วมีสมาธิกว่าการไม่ฟังเพลงก็ให้ฟังเพลง อันนี้เขาเรียกว่าฉลาดที่จะวางกรอบให้กับตัวเองเพื่อทําให้ตัวเองสามารถมีสมาธิได้สูงสุด
มีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต
การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกก็ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งที่สําคัญไม่แพ้กัน ก็คือ การจัดระเบียบภายใน การมีกฎเกณฑ์และแผนการในการใช้ชีวิตนั้นตรงกันข้ามกับการใช้ชีวิตไปตามความอยากของเรา
สมมุติว่าเราอยากอ่านหนังสือแต่เราก็เป็นคนติดเกมส์ ซึ่งเรามีกฎเกณฑ์กับตัวเองว่า
- เราสามารถเล่นเกมส์ได้ หลังจากที่เราอ่านหนังสือ
- เราเล่นเกมส์ได้วันละหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น
ถ้าเทียบกับการที่เราไม่มีกฎระเบียบอะไรเลย คุณคิดว่าการใช้ชีวิตแบบไหนจะทําให้เรามีสมาธิมากกว่ากัน เวลาเราไม่มีแผนหรือระเบียบวินัย พอถึงเวลาที่เราจะต้องอ่านหนังสือจริงๆ เราก็จะเริ่มมีการต่อรองกับตัวเองว่าเราอยากหรือไม่อยากอ่านหนังสือ ซึ่งเมื่อเราเปรียบเทียบการเล่นเกมส์หรือดูหนังฟังเพลงกับการอ่านหนังสือแล้ว ในที่สุดเราก็ไม่อ่าน หรือว่าเวลาเราอ่านเราก็อาจจะอ่านแป๊ปเดียวและล้มเลิกได้ง่ายเพราะเราไม่ได้มีแผนที่จะต้องอ่านมากหรือน้อย
ในทางกลับกันถ้าเรามีแผนที่ชัดเจน เช่นจะอ่านหนังสือ 1 ชั่วโมงทุกวันตอน 5 โมงเย็นและค่อยเล่นเกมส์ 1 ชั่วโมง และเราได้ทําตามแผนนี้มาเป็นระยะเวลานาน การอ่านหนังสือหนึ่งชั่วโมงก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ เราเองก็สามารถที่จะมีสมาธิได้ง่ายและไม่ต้องมีการต่อรองใดๆ อันนี้คือการสร้างระเบียบวินัยและการวางแผนชีวิตที่ดีที่ทําให้เรามีสมาธิได้ง่ายขึ้น
รู้จักศัตรูของสมาธิ
การมีสมาธิเหมือนพายเรือในนํ้านิ่ง เราจะพายไปทางไหนก็ง่ายและไม่มีปัญหา แต่เมื่อจิตใจเราไม่สงบ มันก็เหมือนเราพยายามพายเรือท่ามกลางลมมรสุมที่กำลังจะพัดเรือเราออกไปจากจุดหมายตลอดเวลาจนบางทีอาจจะทําให้เรือเราล่มได้
จิตใจเราเป็นสมาธิได้ยาก ถ้ายังมีอะไรค้างคาและรบกวนอยู่ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทําก็คือการสยบมรสุมในจิตใจของเรา ต้องเคลียร์กับตัวเองในเรื่องหรือสิ่งที่กําลังรบกวนจิตใจเรา ต้องคอยสอดส่องในจิตใจเราเองว่ามันกําลังไปติดอยู่กับสิ่งใด จากนิวรณ์ 5 (อ่านเกี่ยวกับนิวรณ์ 5 เพิ่มเติมในเหตุของการไม่มีสมาธิ) เราสามารถเห็นได้ว่ามันมีแค่ 5 สิ่งที่ทําให้จิตใจเราไม่สงบ
- สิ่งที่เราอยากได้ - ต้องปล่อยวางให้ได้โดยการเห็นโทษของมัน ความสุข ลาภยศ คําสรรเสริญ สิ่งพวกนี้เป็นเรื่องดี แต่ต่อให้ดีขนาดไหนถ้าเราไปยึดติดกับมัน เราก็เป็นทุกข์เองเพราะว่าในที่สุดแล้วชีวิตต้องมีสองด้านเสมอ ความสุขและทุกข์ สมหวังและผิดหวัง คละเคล้ากันไปเสมอจะให้เป็นอย่างใจเราต้องการทุกอย่างไม่ได้
- สิ่งที่ไม่ชอบ สิ่งที่เราไม่อยากได้ เช่นคิดถึงคนที่เราเกลียดหรือหมกมุ่นกับสิ่งที่ทําให้เราไม่สบายใจ
- ความหดหู่ขี้เกียจและความง่วง เช่นทํางานมันยากก็ไปเล่นเกมส์ดูหนังดีกว่ามันง่าย แล้วก็ยอมแพ้หมดกําลังใจหรืออาจจะเลิกล้มไปเลยในที่สุด
- ความฟุ้งซ่าน แก้โดยการทําและหาความสงบ การฝึกสมาธิและการเอาตัวเองออกมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบสามารถช่วยได้มาก
- ความไม่รู้ไม่แน่ใจ แก้โดยการหาคําตอบ
สมาธิมีความสุขเป็นฐาน และ 5 สิ่งนี้คือสิ่งที่ทําลายสมาธิที่เราต้องศึกษาและเห็นในตัวเราเองเพื่อแก้ไขและปล่อยวางให้ได้
สร้างความสุขให้กับสิ่งที่เราทำ
ถ้าสมาธิมีความสุขเป็นฐานหน้าที่ของเราก็คือการสร้างความสุขในสิ่งที่เราอยากจะมีสมาธิด้วย เช่นเราจะต้องอ่านหนังสือ เราก็มีความเข้าใจว่าเราอ่านหนังสือไปเพื่ออะไร อ่านแล้วเราจะได้อะไร เช่นเราอยากมีความรู้หรือเราอยากท้าทายตัวเอง เราอาจจะต้องสร้างความรู้สึกดีๆกับการอ่านหนังสือด้วย เช่น เวลาอ่านหนังสือก็เปิดเพลงเบาๆหรือสร้างบรรยากาศที่ดีให้มีความรู้สึกที่ดีกับการอ่านหนังสือ
อดทน
ถ้าเราหาความสุขกับสิ่งที่เราทําไม่ได้ก็ให้เราอดทน ทุกคนอยากจะให้ชีวิตเป็นตามใจตัวเอง เราอยากเจอแต่สิ่งดีๆที่สนุกง่ายและราบรื่น แต่ตามความจริงแล้วชีวิตไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอ โดยเฉพาะเรื่องงานหรือการศึกษาที่ส่วนมากแล้วเป็นเรื่องยากไม่สนุกและเต็มไปด้วยปัญหาและสิ่งที่ท้าทายมากมาย และเมื่อเราต้องมีสมาธิกับสิ่งที่ยากแล้วจิตใจเราก็ไม่ค่อยอยากจะอดทน มันพร้อมที่จะยอมให้สิ่งอื่นมาฉุดมันออกจากสมาธิเสมอ เราอาจจะเข้าใจว่าคนมีสมาธิได้ง่ายเพราะว่าเขาไม่มีเรื่องรบกวนจิตใจ อันนี้ก็ถูกแต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ทุกคนต้องมีสิ่งที่รบกวนจิตใจเพราะทุกคนไม่ชอบเรื่องที่ไม่เป็นไปดั่งใจ ดังนั้นคนที่สามารถสร้างสมาธิได้ง่ายอาจจะไม่ใช่แค่เป็นคนที่ไม่มีอะไรรบกวนจิตใจอย่างเดียวแต่ต้องเป็นคนที่สามารถอดทนต่อสิ่งที่มารบกวนจิตใจได้ด้วย
ความอดทนนั้นจะยากตอนเริ่มต้นเสมอ แต่เมื่อเราได้ให้โอกาสตัวเองที่จะเริ่มแล้วสมาธิมันจะค่อยๆมาเอง เทคนิคที่ผมชอบใช้บ่อยๆก็คือ “2 Minutes Rule” สมมุติว่าเราต้องอ่านหนังสือแต่ว่าเราขี้เกียจ เราก็บอกกับตัวเองว่าเราจะอ่านแค่ 2 นาที แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือเมื่อเราได้เริ่มแล้ว 2 นาทีมันไม่เคยพอ และในที่สุดเราก็จะอ่านได้ถึง 20 นาทีหรือ ไม่ก็ 30 นาทีโดยที่เราไม่รู้ตัว ลองเอาไปใช้ดูครับ
นอนหลับให้เพียงพอ
ลองสังเกตดูว่าวันไหนที่เรานอนน้อยเรามักจะทำสมาธิได้ยาก เพราะกายและใจจะทํางานร่วมกัน การนอนหลับให้เพียงพอ การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการออกกําลังกายที่เหมาะสม คือการวางรากฐานที่มั่นคงแก่การทำสมาธิที่ไม่ควรมองข้าม
ฝึกสมาธิ
อยากมีสมาธิแต่พอพูดถึงเรื่องว่าต้องฝึกสมาธิ คนส่วนมากกลับเมินหน้าหนี แต่การทําสมาธินี้สามารถช่วยได้มาก สําหรับคนที่สนใจสามารถเรียนการฝึกสมาธิได้ที่นี่ครับ
ควรพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เมื่อ...
- ไม่มีทางออก
- อาการไม่ดีขึ้น
- พยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล
สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:
สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:
สามารถให้ความคิดเห็นให้ กําลังใจ และช่วยพัฒนาได้ที่:
ขอบคุณทุกความคิดเห็นและจะเอาไปพัฒนากล่องยาประจําใจครับ
สําหรับท่านที่อยากมีกล่องยาสามัญประจําใจไว้ที่บ้านหรือเป็นของฝากให้คนอื่นเมื่อกล่องยาประจําใจตีพิม สามารถติดต่อสั่งจองได้ที่:
แบบฟอร์มสั่งจองกล่องยาสามัญประจําใจ
หรือ
Line: @schooloflife
Line: @schooloflife
ตัวยาอาจจะใช้ได้กับบางคนแต่อาจจะไม่เหมาะกับบางคน โปรคใช้วิจรณญานและเลือกใช้ได้สิ่งที่เรารู้สึกว่าน่าจะใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้