อยู่กับความจริงไม่ใช่ความอยาก

ใจที่ยังไม่ได้ฝึกอยู่กับความอยาก ใจที่ฝึกดีแล้วอยู่กับความจริง

206603 ศุภกร เลาหสงคราม

นักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychologist)


แนวทาง

คนเราทุกข์เพราะว่าเราอยากให้ทุกอย่างเป็นอย่างใจเรา

เกิดมาก็ไม่อยากตาย ทําธุรกิจก็ไม่อยากเจ๋ง ทํางานก็อยากได้เลื่อนขั้น แต่ความจริงก็คือ คนเราเกิดมาก็ตาย ทําธุรกิจก็มีสิทธิ์เจ๋ง ทํางานบางทีก็ไม่เคยได้เลื่อนขั้น เมื่อความจริงไม่ตรงต่อความอยากสิ่งที่ตามมาก็คือความผิดหวัง เสียใจ หรือว่า ทุกข์นั้นเอง นี้คืออาการของคนที่ไม่เคยได้ฝึกหรือมีทักษะทางด่านจิตใจ ซึ่งทําให้เรามีนิสัยที่จะอยู่กับความอยากมากกว่าความจริง

แต่ความจริงก็คือชีวิตไม่เคยเป็นไปตามที่เราหวัง มันเป็นไปตามวิถีของมัน ตามกฎของธรรมชาติที่แน่นอน หรือในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า "Law of Cause and Effect" หรือจะมาแนวพุทธศาสนาก็เรียนกว่า "ปฏิจจสมุปบาท"

ถ้าเราอยากให้นํ้าเดือด แน่นอนกฎที่แน่นอนและตายตัวตามหลักวิทยาศาสตร์ก็คือ เราต้องอุ่นนํ้าให้ได้ 100 องศาเซลเซียส ถ้าน้อยกว่านั้น ต่อให้เราอยากให้มันเดือดมากขนาดไหน มันก็ไม่เดือด นี้ก็เพราะความจริงมันไม่ได้เป็นไปตามความอยากของเรา มันไม่สนว่าเราจะอยากหรือไม่อยากอะไรจากมัน

เหตุการในชีวิตเราก็เหมือนกัน ไม่ว่าเราจะมีความอยากหรือไม่อยากอะไรก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับความจริง เช่นเวลาที่คนรักคนที่ใกล้ชิดเราเสียชีวิต ไม่ว่าเราจะอยากให้เขาอยู่นานขนาดไหน หากร่างกายมันไม่ไหว เขาก็ต้องจากไปตามกฎของธรรมชาติอยู่ดี คนที่อยากให้คนที่ตายไปแล้วอยู่ก็คือคนที่เอาความอยากมาก่อนความจริง ซึ่งแน่นอนก็ต้องทุกข์เพราะความอยากไม่ตรงกับความจริง หรือบางคนอายุมากแล้ว ขยับก็เจ็บ โรคก็มีมาก มีควาททรมารในการใช้ชีวิตจนมีความอยากที่จะตายขั้น แต่ต่อให้เราอยากที่จะตายมากขนาดไหน หากร่างกายเรายังไหวอยู่ มันก็ยังมีชีวิตอยู่ของมัน

การที่เราสามารถมองชีวิตตามความจริงได้มากกว่าที่ตามความอยากมันเป็นการปรับและฝึกให้ความอยากของเรานั้นตรงต่อความจริง หรือจะพูดอีกอย่างก็คือการยอมรับและอยู่กับความจริง ซึ่งเมื่อเราสามารถฝึกให้จิตใจเราให้ตรงต่อความจริงได้แล้ว ใจเราเองจากที่ทําให้เราเจ็บปวดจากการที่มันอยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่มันต้องการ ก็จะไม่ทุกข์ และมากกว่านั้นกลายเป็นภมูิคุ้นกันเราจากความทุกข์ นี้คือความต่างระหว่างจิตใจที่ไม่ได้ฝึกและจิตใจที่ฝึกดีแล้ว

ใจที่ยังไม่ได้ฝึกอยู่กับความอยาก ใจที่ฝึกดีแล้วอยู่กับความจริง

ความจริงก็คือชีวิตไม่เคยเป็นไปตามใจเรา แค่ว่าพรุ่งนี้เราจะเกิดหรือตายหรือเปล่าเราเองก็ยังตอบตัวเองไม่ได้เลย ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดเราทําได้ก็คือฝึกที่จะอยู่กับความจริงให้มากกว่าความอยากเราเสมอ เพราะเมื่อใดที่เราเอาความอยากของเรามาก่อนความจริง เมื่อนั้นเราก็ต้องเตือนสติกับตัวเองเสมอว่านั้นคือหลทางสู่ความทุกข์

วิธีฝึกและปฎิบัติ

1.แยกแยะความอยากออกจากความจริง

ทุกครั้งที่เรามีความทุกข์ ให้มองดูมันลงไปว่าตอนนี้เราอยากได้อะไรจากความจริงและความจริงคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น เรากลัวที่จะไม่ได้เลื่อนตํ่าแหน่ง ความอยากของเราก็คืออยากเลื่อนตําแหน่ง แต่ว่าความจริงก็คือเรายังไม่ได้เรื่องตําแหน่ง หรือว่า เรากลัวตาย ความอยากคือความอยากอยู่ไม่อยากได้ แต่ความจริงก็คือทุกคนต้องตายแล้วตอนนี้เรายังอยู่

2.ปรับใจให้ตรงกับความจริง

เมื่อเราเห็นช่องว่างระหว่างความอยากกับความจริงแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการที่เราต้องฝึกที่จะวางใจให้กลับมาอยู่กับจริง อย่างตัวอย่างเรื่องการเลื่อนตําแหน่งนี้ ความอยากก็คือเราอยากได้การเลื่อนขั้น แต่ความจริงก็คือเราก็อาจจะได้เลื่อนตําแหน่งหรือไม่ก็ได้ ทั้งสองทางนี้ก็เป็นความจริงได้หมด ดังนั้นเราก็ต้องยอมรับมันให้ได้ทั้งสองทาง อย่าไปอยากให้เป็นไปทางใดทางเดียวว่าเราต้องได้ อันนั้นมันไม่ตรงต่อความจริง อันนั้นมันคือการมองชีวิตตามความอยาก และสุดท้ายเมื่อเราไปหวังอะไรที่เราหวังไม่ได้ เราเองก็ตั้งตัวเองให้ทุกข์เปล่าๆในสิ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราเลย

3.ทําหน้าที่ของเราให้ดี

เมื่อชีวิตเป็นไปตามกฎของธรรมชาติที่ตายตัวแล้ว หากเราต้องการอะไร เราก็ต้องเข้าใจและทําไปตามกฎเกณของมัน เหมือนการที่เราจะทํานํ้าให้เดือด กฎเกณก็คือเราก็ต้องเพิ่มอุหภมูิ นํ้าให้ถึง 100 องสา เราจะอยากหรือไม่อยากให้มันเดือดก็ได้อันนั้นมันไม่สําคัญ

สิ่งที่เราต้องการในชีวิตก็เป็นไปตามกฎเกณของธรรมชาติเหมือนกัน เช่น การเลื่อนตําแหน่งนี้ก็มีกฎเกณหรือเหตุปัจจัยของมันที่สามารถจะช่วยให้เราเลื่อนขั้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ความสามารถของเรา ความสัมพันธ์ของเรากับเพื่อนร่วมงาน ประสบการ ผลงานที่เราเคยทํา หัวหน้า ความต้องการของบริษัท และอื่นๆอีกมากมาย

หน้าที่ของเราก็คือการสร้างเหตุหรือ cause พวกนี้ขึ้นมาให้มาก เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้ผล หรือ effect ที่เราต้องการให้มากที่สุด ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรอันนี้ไม่มีใครไม่รู้และเราเองก็ไปหวังอะไรไม่ได้ แต่สิ่งที่เรายังพอหวังได้บางนั้นก็คือตัวเราเองที่ยังความสามารถ เปลี่ยนแปลงและสร้างเหตุปัจจัยที่จําเป็นต่อผลที่เราต้องการ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง