อยู่ไปวันๆ

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับการใช้ชีวิตแบบ auto-pilot นี้ก็คือการใช้ชีวิตอย่างมีเจตนา เป้าหมาย และการวางแผน

206603 ศุภกร เลาหสงคราม

นักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychologist)


อาการของคนที่อยู่ไปวันๆ

  • เบื่อชีวิต ชีวิตยังอยู่แต่จิตใจเหมือนตายแล้ว
  • รู้สึกชีวิตไม่มีความหมาย
  • มีอาการเหมือน ซึมเศร้า
  • เหนื่อยตลอดเวลา
  • ตื่นเช้ามาไม่รู้สึกกระตือรือร้นหรือตื่นเต้นที่จะทำอะไร หรือใช้ชีวิตอย่างไร
  • รู้สึกชีวิตจําเจและน่าเบื่อ จนรู้ว่าทุกวันตื่นมาจะเหมือนเดิม
  • เสียเวลามากไปกับสิ่งไร้ประโยชน์ เช่น การเล่นมือถือ ดูโซเชียล เสพสื่อ หรือ สิ่งเสพติด
  • แม้มีความรู้สึกลึกๆว่าจริงๆแล้ว เราสามารถใช้ชีวิตได้ดีกว่านี้ และมีสิ่งที่ดีกว่านี้ที่เราควรทําและยังทําได้ แต่ก็ไม่อยากทำ

ยารักษา

เราไม่อยากใช้ชีวิตที่อยู่ไปวันๆ แล้วอะไรคือชีวิตที่ไม่อยู่ไปวันๆล่ะครับ?

นี้เป็นคําถามแรกที่เราจะต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน ว่าตอนนี้ชีวิตที่อยู่ไปวันๆของเราเป็นแบบไหน มันเหมือนเรารู้ว่าเราไม่อยากกินอะไร..ซึ่งก็มีหลายอย่าง แต่เราเองก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าที่เราไม่อยากกินนั้นจะเป็นจานไหนดี ถ้าเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่ายังไม่มีคําตอบ นั่นคือเราควรต้องตอบกับตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราอยากใช้ชีวิตแบบไหน? ชีวิตแบบไหนที่เรารู้สึกว่าน่าจะใช่การใช้ชีวิตแบบของเรา? ถ้ามีเวลา ขอให้ลองเขียนมาดูเลยว่าอะไรคือชีวิตที่เราอยากได้ เพื่อเราจะได้รู้ทิศทางในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา เมื่อเขียนออกมาแล้วสิ่งที่ต้องทําต่อไปก็คือเริ่มใช้ชีวิตให้เป็นอย่างนั้น ถ้าทำแล้วเกิดผลดีเรามีความสุข คําตอบมันก็มีแค่นี้ แต่เมื่อเราลองปฎิบัติจริงแล้ว สิ่งที่ตามมาก็มันก็มีรายละเอียดและอุปสรรคอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ และนี้คือสิ่งที่เราจะต้องแก้ไขและปรับปรุงกันต่อไป

ออกจากความคุ้นเคยเดิม

Warrent Buffett นักลงทุนชื่อดังที่รํารวยติดอันดับต้นๆของโลกเคยกล่าวว่า:

Chains of habit are too light to be felt until they are too heavy to be broken.

Warren Buffett

ซึ่งแปลว่า "บ่วงแห่งนิสัย[หรือความเคยชิน]มันเบาจนเราแทบไม่รู้สึกว่าบ่วงนี้มันอยู่กับเรามานานจนกลายเป็นความเคยชิน จนกระทั่งวันหนึ่งบ่วงนี้มันหนักมากขึ้นเกินกว่าที่เราจะแบกมัน ปล่อยไว้ไม่ได้แล้วถึงเวลาที่เราต้องแก้ไขมันแล้ว" ความหมายที่ Warrent Buffett พยายามสื่อก็คือความเคยชินนั้นสร้างง่ายแต่ถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนมันแล้วมันทําได้ยาก แม้ต่อให้เรารู้และไม่อยากใช้ชีวิตไปวันๆแต่เพราะความเคยชินที่เราได้สั่งสมมา ความเคยชินนั้นก็สามารถผลักดันเราให้กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมๆอยู่ได้อีก นี้คือความน่ากลัวของความเคยชินที่มีอํานาจในการกําหนดพฤติกรรมของมนุษย์

ดังนั้นโจทย์แรกในการดึงตัวเองออกจากชีวิตที่เรารู้สึกเหมือนเราอยู่ไปวันๆไปสู่ชีวิตที่ดีเราต้องการก็คือการเอาชนะความเคยชิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเคยชินเดิมๆที่ทําให้เราใช้ชีวิตไปวันๆ ซึ่งความเคยชินนั้นก็มักขึ้นอยู่กับ:

  • สิ่งแวดล้อม
  • คนรอบข้าง

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราติดบุหรี่ บางที่เราคุ้นเคยที่จะสูบที่บ้านหลังกินอาหาร การอยู่ที่บ้านก็ถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสที่เราจะสูบได้มากกว่าที่เราจะอยู่ที่อื่น หรือว่าเรามีเพื่อนที่ชอบสูบบุหรี่ พอเพื่อนสูบเราก็สูบตามอันนี้ก็เป็นเรื่องของคนรอบข้างที่ส่งเสริมให้เราทําพฤติกรรม ทั้งๆที่ลึกๆแล้วเราไม่อยากทํา อันนี้เราก็ต้องฉลาดในการนําตัวเองออกจากความเคยชินเดิมๆให้ได้มากที่สุด

วิธีที่ดีและง่ายที่สุดในการดึงตัวเองออกมาจากความเคยชินเก่าๆ ก็คือการสร้างความเคยชินใหม่โดยการเอาตัวเองออกมาจากสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างเดิมเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น มีการเปลี่ยนสถานที่ โดยอาจจะเราเอาตัวเองออกมาจากบ้านมาอยู่คนเดียว หรือว่าถ้าเรารู้ว่าเพื่อนอาจมีอิทธิพลที่ไม่ดีกับเรา เราก็อาจจะต้องเจอเพื่อนให้น้อยลง การทําเช่นนี้ก็จะหยุดความเคยชินเก่าและบังคับให้เราจะต้องสร้างนิสัยใหม่ๆในสถานการและสังคมใหม่

เราอยู่ไปวันๆเพราะมันคือสิ่งที่เราเลือกหรือเปล่า?

นอกจากปัจจัยภายนอกแล้ว อีกอุปสรรคหนึ่งที่สําคัญไม่แพ้กันก็คือปัจจัยภายใน หรือว่าตัวเราเอง ถ้าเรายังติดขึ้เกียจ รักความสบาย มีความคิดปิดกั้นว่าความเปลี่ยนแปลงในชีวิตเรานั้นเป็นไปไม่ได้ หนีและกลบเกลื่อนปัญหาด้วยการเล่นโซเชียลหรือเสพสื่ออยู่เสมอๆ ต่อให้เราเปลี่ยนปัจจัยภายนอกมากเท่าไร ถ้าตัวเราเองยังเป็นศัตรูเบอร์หนึ่งอยู่ ชีวิตเราก็เปลี่ยนไม่ได้ ดังนั้นเราอาจจะต้องมาตั้งคําถามใหม่กับตัวเองด้วยว่าจริงๆแล้วชีวิตเรามาอยู่จุดนี้ จุดที่เราใช้ชีวิตไปวันๆ เพราะตัวเราเองหรือเปล่า? เพราะถ้าเราไม่อยากอยู่ไปวันๆจริง ทําไมชีวิตเรายังอยู่ที่เดิม ดังนั้นมันก็อาจจะต้องมีความจริงอยู่บ้างที่เราเองก็มีส่วนทําให้เรามาอยู่จุดนี้ ดังนั้น หน้าที่ของเราก็คือ ตรวจสอบปัญหา แก้ไขและพัฒนาทุกอย่างให้ดีขึ้น

สร้างชีวิตใหม่ด้วยการตั้งเจตนารมณ์และวางแผนชีวิตในทุกๆวัน

ส่วนมากแล้วชีวิตที่อยู่ไปวันๆคือชีวิตที่ไม่มีการวางแผน เราปล่อยให้สิ่งอื่นมาบังคับชีวิตเรา เช่น บางทีเราก็ใช้ชีวิตไปตามอารมณ์และความเคยชิน ในภาษาอังกฤษเรียกการใช้ชีวิตแบบนี้ว่า auto-pilot ซึ่งสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการใช้ชีวิตแบบ auto-pilot นี้ก็คือการใช้ชีวิตอย่างมีเจตนามีเป้าหมาย และมีการวางแผน มันคือการที่เราเป็นคนที่สามารถกําหนดชีวิตของเราเองได้ ยกตัวอย่างเช่น ไม่ว่าชีวิตจะดีหรือแย่ก็ตาม เราต้องตั้งเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ไว้แล้วว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราก็จะสู้และใช้ชีวิตให้ดีที่สุด นี้คือการคืนอํานาจที่จะกําหนดชีวิตของเราให้กลับมาที่ตัวเอง มากกว่าที่จะปล่อยให้ตัวเราไหลไปตามกระแสของชีวิต เราจึงควรมีการวางแผนชีวิต และ มีการสร้างเป้าหมายให้กับชีวิต ดังนั้นแทนที่จะอยู่ไปวันๆ เราควรทําสามสิ่งนี้ทุกๆวัน 1) วางแผนให้กับตัวเองเลยว่าแต่ละวันเราจะทําอะไรแทนที่จะอยู่ไปวันๆ 2) ตั้งเจตนารมณ์ว่า เราอยากเป็นคนแบบไหน ท่าทีของเราต่อชีวิตจะเป็นอย่างไร อย่ารอให้ชีวิต มากําหนดเรา 3) สร้างและจดจ่อกับเป้าหมายของเราบ่อยๆว่าเราอยากทําอะไรให้สําเร็จ ต้องใช้ชีวิตอย่างไรเราจะรู้สึกว่าเรามีความสุขและมีคุณค่ามากที่สุด นี้คือการเปลี่ยนจากชีวิต auto-pilot ที่น่าเบื่อ ไม่มีชีวิตชีวา ไร้คุณค่าและจุดหมาย ให้เป็นชีวิตที่เราเองมีอํานาจที่จะสร้างชีวิตที่สวยงามและมีความหมายให้กับตัวเองได้สำเร็จ

จุดจบของชีวิตที่อยู่ไปวันๆ

แค่เราจินตนาการว่าเราต้องใช้ชีวิตแบบที่เป็นอยู่ไปวันๆต่อไปอีก 5 ปีเราก็น่าจะไม่ไหวแล้ว แต่ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงละ ผลลัพธ์ที่ตามมามันมีอะไรบ้าง? แล้วเราจะรู้สึกต่อตัวเองอย่างไร? นี้คือข้อเสียที่เราอาจจะยังมองไม่เห็นเมื่อเรามีชีวิตอยู่ไปวันๆ

  • จิตใจที่ตายไปแล้วต่อชีวิต

อาการหนึ่งของคนที่อยู่ไปวันๆที่เห็นได้ชัดก็คืออาการที่ชีวิตยังอยู่แต่จิตใจได้ตายแล้ว การที่เราติดอยู่กับชีวิตแบบนี้ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการที่เราใช้ชีวิตอยู่ในนรก คงไม่มีใครอยากที่จะปล่อยตัวเองจนชีวิตกลายเป็นแบบนี้

  • ผิดหวังในสิ่งที่ตัวเองเป็น

การใช้ชีวิตไปวันๆเป็นการใช้ชีวิตที่ไร้ความหมาย ไม่คุ้มค่า และ ไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ มันทําให้รู้สึกว่าชีวิตเราว่างเปล่า และอยู่ไปวันๆอย่างเปล่าประโยชน์ ขณะที่เรามองชีวิตของคนรอบตัวเราที่เขาประสบความสำเร็จแต่เรากลับยังวนอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้าไปไหนเลย เราก็รู้สึกผิดหวังในตัวเอง น้อยใจ อิจฉา หรือ ในภาษาวัยรุ่นที่เขาเรียกว่ารู้สึก fail ยิ่งปล่อยนานเท่าไรความรู้สึกนี้มันจะไม่มีวันน้อยลง มันมีแต่จะมากขึ้นถ้าเรายังขืนที่จะใช้ชีวิตไปวันๆอย่างไร้จุดหมายและไม่ยอมเริ่มเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตในแบบที่เรารู้ว่าเราควรใช้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

  • ชีวิตที่เต็มไปด้วยความรู้สึกเสียดาย

คนที่รู้ว่าตัวเองได้เสียเวลาใช้ชีวิตไปวันๆอย่างไร้ประโยชน์ เมื่อมีโอกาสได้มองกลับมาความรู้สึกสะท้อนกลับมาก็คือความเสียดาย เสียดายที่เราเสียเวลาไปกับสิ่งที่เราไม่ควรทำ เสียดายโอกาสที่เราสามารถเอาไปใช้ทําอะไรดีๆได้อีกมากมาย

ควรพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เมื่อ...

  1. ไม่มีทางออก
  2. อาการไม่ดีขึ้น
  3. พยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถให้ความคิดเห็นให้ กําลังใจ และช่วยพัฒนาได้ที่:

แบบฟอร์ม Feedback

ขอบคุณทุกความคิดเห็นและจะเอาไปพัฒนากล่องยาประจําใจครับ

สําหรับท่านที่อยากมีกล่องยาสามัญประจําใจไว้ที่บ้านหรือเป็นของฝากให้คนอื่นเมื่อกล่องยาประจําใจตีพิม สามารถติดต่อสั่งจองได้ที่:

แบบฟอร์มสั่งจองกล่องยาสามัญประจําใจ

หรือ

Line: @schooloflife

Line: @schooloflife

ตัวยาอาจจะใช้ได้กับบางคนแต่อาจจะไม่เหมาะกับบางคน โปรคใช้วิจรณญานและเลือกใช้ได้สิ่งที่เรารู้สึกว่าน่าจะใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Screen Shot 2566-05-31 at 12.32.39

ซึมเศร้า

อาหารของความเศร้าคือการที่เรายอมแพ้ต่อความเศร้า

#กล่องยาสามัญประจําใจ

Screen Shot 2566-05-31 at 13.06.05

หมดไฟ

หมดไฟเพราะไม่มีความสุข

#กล่องยาสามัญประจําใจ