หมั่นดูแลจิตใจตัวเอง

206603 ศุภกร เลาหสงคราม

นักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychologist)


ทุกคนต่างมีหน้าที่จะที่จะต้องรับผิดชอบจิตใจของตัวเอง ไม่มีใครที่จะมาเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาจิตใจแทนเราได้ ต่อให้เขาจะอยากสักแค่ไหน แต่หากเราเองไม่เปลี่ยน ใครก็เปลี่ยนให้เราไม่ได้ เพราะเหตุนี้ หน้าที่และความรับผิดชอบต่อจิตใจของเราก็เป็นของเราคนเดียว จะไปโทษพ่อแม่ ไปอ้อนวอนเพื่อน จะไปพึ่งนักจิตวิทยาไม่ได้ ทุกคนได้แค่ช่วย เราเองที่มีหน้าที่ที่ต้องทํา

จุดแรกที่เรามักพลาดในการดูแลรักษาจิตใจของเราก็คือการที่เราไม่รู้จิตใจของเรา ส่วนมากแล้วเวลาเราเจอปัญหาหรืออะไรที่เข้ามากระทบจิตใจเรา เราก็มักเลือกที่จะไปจัดการสิ่งภายนอกก่อน หรือไม่ก็ไม่จัดการอะไรกับมันเลย แต่เราไม่ค่อยที่จะมองย้อนกลับมาเพื่อจัดการกับจิตใจของเราเองเลย

คนที่ไม่เคยฝึกทักษะทางอารมณ์ จิตใจจะเหมือนห้องรก เวลาเรามีอะไรเข้ามากระทบจิตใจเรา เวลาเรามีความไม่พอใจ มีความโกรธ หรือ มีความเครียด เราก็โยนอารมณ์พวกนี้ไว้ให้เลอะเทอะอยู่ในห้องของใจเรา ซึ่งเมื่อนานเข้า สะสมมากเข้า ขยะทางอารมณ์ล้นออกมาจากห้อง เป็นอาการต่างๆที่เราเห็นได้ เช่น การนอนไม่หลับ การหมดแรงในการใช้ชีวิต หรือ คิดมากจนหยุดตัวเองไม่ได้ เป็นต้น

การหมั่นดูแลจิตใจก็คือการหมั่นเข้าไปดูแลและจัดการกับขยะทางอารมณ์ในในใจของเรา มันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาจิตใจ ซึ่งเครื่องมือที่เราจะพูดถึงมีสองอย่างก็คือ 1) การฝึกสติ และ 2) การเขียนบันทึก

การจดบันทึก

การจดบันทึกเป็นการเปิดประตูเข้าไปทําความรู้จักจิตใจของตัวเองที่ง่ายและได้ผลดีโดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มในเส้นทางของการพัฒนาจิตใจ

ทุกวันเราอาจจะมานั่งเขียนอารมณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจเรา แล้วก็พิจารณาว่าเราควรคิดกับมันอย่างไร เพื่อเราจะได้จัดการกับอารมณ์ที่เข้ามาให้ดีที่สุด แล้วก็เขียนวิธีที่เราควรวางใจเรานี้ ไว้เป็นคําตอบให้กับใจของเรา

ยกตัวอย่างเช่น เรารู้สึกโกรธเพราะคําพูดของเพื่อนร่วมงาน เราก็มานั่งเขียนเหตุการที่เกิดขึ้น และความรู้สึกของเรา หลังจากนั้นเราก็อารมณ์ที่เราเขียนนั้นมาพิจารณาว่าถ้าเราโกรธต่อไปแล้วมันได้อะไร เช่น 1) อารมณ์เราเสียและจิตใจขุ่นมัวเปล่าๆ 2) มันทําให้ความสัมพันธ์แย่ลง 3) ทําให้ทํางานด้วยกันยาก กระทบต่อผลงานอีก อย่างนี้เป็นต้น เมื่อคิดได้แบบนี้แล้ว ก็เขียนคําตอบให้ใจเรา เหมือนเป็นตัวยาที่เราเก็บไว้เพื่อเอามารักษาแผลใจเราจากที่โกธรให้เป็นไม่โกรธ

เพียงแค่เราเริ่มหันมาดูแล เข้าใจ และ จัดการกับขยะทางอารมณ์ที่อยู่ในใจเรา ในเวลาไม่นาน เราก็จะรู้สึกเบาขึ้น จากที่ปกติเรามีอะไรก็เก็บมาคิดวนไปวนมา อารมณ์พวกนี้ก็เริ่มหายไป จากที่ปกติเราไม่เคยจัดการหรือรู้วิธีจัดการกับอารมณ์ของเราเลย เราก็เริ่มชํานานและสนุกกับการพัฒนาทักษะทางจิตใจที่ช่วยให้เรามีความสุขมากขึ้นไม่ว่าชีวิตจะโยนอะไรเข้ามาหาเรา

การฝึกสติ: เครื่องมือหลักในการดูแลจิตใจตัวเอง

สติคือทักษะทางจิตใจที่ช่วยทําให้เราเห็นจิตใจของเราเองต่ออารมณ์ที่เข้ามาในชีวิต มันเปิดโอกาสให้เรามองเห็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในใจเรา เช่น อดีตที่เรายังวางไม่ลง หรือ ความเครียดเราสะสมไว้ เพื่อที่เราจะได้เขาไปจัดวางความรู้สึกของเราให้ถูกที่ มันช่วยให้เรารับรู้ความคิดที่ไม่เป็นประโยชน์ในหัวเรา แทนที่จะหลงเชื่อทําอะไรไปตามมันทุกอย่างจนชีวิตมีปัญหา มันทําให้เราเห็นนิสัยของเราที่บางทีก็ไม่ได้ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีและมีความสุข เช่น การคิดลบ การดูถูกตัวเอง หรือ การไม่เชื่อในสิ่งที่ตัวเองทํา เป็นตน การจะรู้จักอาการและปัญหาเหลานี้ผ่านการมีสติ คือจุดเริ่มต้นที่ขาดไม่ได้ในการเริ่มเข้าใจปัญหาเพื่อที่เราจะได้ทราบว่าเราควรพัฒนาจิตใจเราต่อไปอย่างไร

“Between stimulus and response there is a space. In that space is our power to choose our response. In our response lies our growth and our freedom.”

เป้าหมายของการฝึกสติ

เป้าหมายของการฝึกสติก็คือการที่เราสามารถรับรู้สิ่งที่เข้ามาในชีวิตประจําอยู่ในทุกกิจกรรม มันฟังดูง่าย แต่พอทําจริง จะเจอปัญหามากมาย เช่น บางทีเราก็ทําอะไรไปตามความเคยชินอย่างไม่มีสติ บางทีเราก็คิดในแบบเดิมๆที่บางทีก็ไม่จริงและเป็นประโยชน์ การที่จะมีสติในชีวิตประจําได้จึงจําเป็นต้องฝึก ซึ่งการฝึกในรูปแบบก่อนจะช่วยสร้างความเข้าใจและความชํานาญในการมีสติเมื่อจําเป็นต้องเอามาใช้จริงในชีวิตประจําวัน ซึ่งการฝึกในรูปแบบนั้นก็มีมากมาย แต่ในที่นี้ก็อธิบาย เดินจงกลม และ การนั่งสมาธิ

การเดินจงกลม

การเดินจงกลมคือการฝึกสติในรูปแบบที่เหมาะสําหรับคนทีฝึกสติใหม่ๆ เพราะว่าอารมณ์ที่จะรับรู้คืออารมณ์ที่เห็นได้ชัด (ความรู้สึกที่เท้าเดิน)และรับรู้ได้ง่ายกว่าการนั่งสมาธิ (ซึ่งต้องดูลมหายใจ)เพราะเหตุนี้เลยจึง แนะนําสําหรับคนที่มือใหม่ในการฝึกสติ วิธีการฝึกก็ไม่ได้ยาก

  1. หาพื้นที่ที่สงบที่เราสามารถเดินไปมาได้กลับ 10-15 ก้าว
  2. มีสติกับทุกๆก้าวที่เดิน รู้สึกถึงความรู้สึกที่เท้า ความเย็นของพื้น จุดที่เท้าโดนกับพื้น อย่างต่อเนื่องและไม่ขาดสาย
  3. เมื่อสุดทางก็มีสติกับการเดินกลับ
  4. เมื่อมีความคิดมาแซก เราใช้โอกาสนี้ในการฝึกที่จะเห็น รู้จัก และ ปล่อยวางความคิดหรือความรู้สึกที่เข้ามา และกลับมามีสติกับความรู้สึกที่เท้าเหมือมเดิม โดยไม่ไปตัดสิน ห้าม หรือ ส่งเสริมมัน
  5. ฝึกอย่างนี้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 20 นาที

เทคนิคสําคัญก็คือการที่เราควรที่จะรู้ไปอย่างสบายๆ ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องบังคับ แต่ก็ไม่ปล่อยใจให้ลอยไปคิดจนทิ้งสติที่อยู่กับเท้า รู้อย่างพอดี ไม่หนักไม่เบาเกินไป

การนั่งสมาธิ

การนั่งสมาธินั้นก็คือการฝึกที่จะวางจิตไว้ให้อยู่กับลมหายใจ ค่อยเฝ้าดูลมหายใจ โดยไม่ไปบังคับมัน ดูให้เหมือนเราดูคลื่นที่เขามากกระทบกับฝั่งแล้วก็ออกไป นี้คือการฝึกสติ ให้อยู่กับปัจจุบัน ระหว่างที่เราฝึกอยู่ แน่นอนต้องมีความคิดหรือความรู้สึกที่จะเข้ามาแซก นี้คือโอกาสที่เราจะเรียนรู้วิธีรับมือต่อมันอย่างถูกต้อง

  1. หาพื้นที่ที่เงียบสงบที่เราสามารถนั่งสมาธิได้
  2. นั่งในท้าที่เราสามารถนั่งได้นาน จะนั่งขัดสมาด หรือ นั่งบนเก้าอี้ก็ได้
  3. หลับตาและเอาสติไปวางไปกับความรู้สึกของลมหายใจ ปล่อยให้ลมหายใจเข้าออกอย่างสบาย พยายามรู้ความรู้สึกอย่างต่อเนื่อย ไม่ให้ขาดสาย
  4. เมื่อมีความคิดมาแซก เราใช้โอกาสนี้ในการฝึกที่จะเห็น รู้จัก และ ปล่อยวางความคิดหรือความรู้สึกที่เข้ามา และกลับมามีสติกับความรู้สึกที่เท้าเหมือมเดิม โดยไม่ไปตัดสิน ห้าม หรือ ส่งเสริมมัน
  5. ฝึกอย่างนี้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 15 นาที

การมีสติในชีวิตประจําวัน

ความรู้ที่มีแต่ไม่ได้เอาไปใช้ก็ไม่ประโยชน์อะไร เหมือนสติที่มีแค่ตอนซ้อมแต่เวลาต้องใช้จริงกลับหาไม่เจอ เพราะฉะนั้นการฝึกในรูปแบบแล้วก็ต้องเอามาใช้ชีวิตในชีวิตประจําวันด้วย เพราะว่าอารมณ์ที่มาจะกระทบกับจิตใจเราส่วนมาก็จะมาจากในชีวิตประจําวัน การฝึกที่จะมีสติในชีวิตประจําวันนั้นต้องใช้เทคนิคและความพยายาม เพราะมันไม่ตายตัว แต่ข้อแนะนําที่ฝากไว้มีตามนี้:

  1. ทําอะไรก็จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทําอยู่ อย่าวอกแวก มีสติอยู่กับสิ่งที่ทํา
  2. ค่อยเตือนตัวเองเสมอให้มีสติในทุกสิ่งที่ทํา ไม่ว่าจะเดิน กิน นั่ง ไปห้องนํ้า คุยกับคนอื่น
  3. หากเป็นไปได้ก็ผสมผสานการฝึกในรูปแบบให้เข้าไปในชีวิตประจําวันด้วย เช่น เวลานั่งรอรถก็อยู่กับลมหายใจแทนที่จะเล่มมือถือ หรือว่า เวลาเดินไปใหนก็เดินอย่างมีสติทุกก้าว แทนที่จะคิดเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ อย่างนี้เป็นต้น

ผลที่ได้จากการฝึกเช่นนี้จะทําให้จิตใจคุนเคยกับการมีสติ และเมื่อมีอารมณ์ที่เข้ามากระทบ ก็ทําให้เราสามารถรับมือกับมันได้ เพราะว่าเราได้ฝึกรับมือกับอารมที่เข้ามาแซกระหว่างที่เราฝึกในรูปแบบไว้แล้ว

ควรพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เมื่อ...

  1. ไม่มีทางออก
  2. อาการไม่ดีขึ้น
  3. พยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถให้ความคิดเห็นให้ กําลังใจ และช่วยพัฒนาได้ที่:

แบบฟอร์ม Feedback

ขอบคุณทุกความคิดเห็นและจะเอาไปพัฒนากล่องยาประจําใจครับ

สําหรับท่านที่อยากมีกล่องยาสามัญประจําใจไว้ที่บ้านหรือเป็นของฝากให้คนอื่นเมื่อกล่องยาประจําใจตีพิม สามารถติดต่อสั่งจองได้ที่:

แบบฟอร์มสั่งจองกล่องยาสามัญประจําใจ

หรือ

Line: @schooloflife

Line: @schooloflife

ตัวยาอาจจะใช้ได้กับบางคนแต่อาจจะไม่เหมาะกับบางคน โปรคใช้วิจรณญานและเลือกใช้ได้สิ่งที่เรารู้สึกว่าน่าจะใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง