ผลัดวันประกันพรุ่ง

206603 ศุภกร เลาหสงคราม

นักจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychologist)


เข้าใจและแก้ไขเหตุที่ทําให้เราผลัดวันประกันพรุ่ง

จะแก้ปัญหาได้เราก็ต้องเข้าใจปัญหาก่อน ซึ่งคําถามที่สําคัญก็คือ มีอะไรบ้างที่กําลังหยุดเราจากสิ่งที่เราควรหรืออยากทํา? อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องสํารวจตัวเอง แต่เหตุผลที่พบบ่อยก็คือ:

  • เราไม่มีวินัยกับตัวเอง ทําอะไรตามความรู้สึกเป็นหลัก ติดความสบาย ไม่อยากทําสิ่งที่ลําบาก แพ้ใจตัวเอง
    • ความมีวินัยก็คือการที่เราทําอะไรบางอย่างไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบมัน คนเราจะฝึกให้มีวินัยได้ก็ต้องฝืนตัวเองให้มากขึ้น จนชิน นอกจากนั้นก็ต้องเข้าใจว่าการที่เราฝืนตัวเองนั้นมันมีประโยชน์ในระยะยาวอย่างไร
  • การจัดวางระบบในชีวิตที่ไม่ดี เช่น ไม่มีการวางแผนชีวิต ไม่มีเป้าหมาย ไม่การวางแผนว่าแต่ละวันต้องทําอะไร หรือ ไม่มีการติดตามผลลัพธ์ของสิ่งที่เราทําที่ดี ทําให้ชีวิตไม่เอื่อต่อการที่เราจะทําในสิ่งที่เราควรทํา
    • การวางแผนและจัดระเบียบชีวิตให้เอื่อต่อการที่เราจะทําในสิ่งที่เราควรทําก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ในการทําอะไรบ้างอย่าง หน้าที่ของเราก็คือการจัดการชีวิตให้อํานวยต่อการที่เราจะสิ่งที่เราอยากทํา เช่น หากเรารู้ตัวว่าไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่ถ้ามีเพื่อนไปด้วยเราจะอ่านได้ดี เราก็อาจจะต้องเอาตัวเองออกไปอ่านหนังสือกับเพื่อน ระหว่างเราทํางานเรารู้ตัวดีว่าเราชอบเล่นมือถือจนเสียสมาธิ เราก็อาจจะตั้งใจวางมันไว้ห่างๆตัว ปกติเราไม่เคยวางแผนชีวิต เราอาจจะต้องเริ่มสร้างนิสัยในการเขียนตารางในแต่ละวันว่าแต่ละวันจะทําอะไรบ้าง ถึงเวลาที่เราต้องทําเราจะได้ไม่ต้องมานั่งคิดว่าเรารู้สึกกับมันอย่างไร เราจะทําหรือไม่ทํา เราก็แค่ทํามัน นี้คือการจัดชีวิตตัวเองให้ง่ายที่จะทําสิ่งที่ต้องการให้มากที่สุด
  • ไม่ focus มีสิ่งรบกวนเยอะในชีวิต (ไม่มีสมาธิ)
    • อีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับกับจัดการชีวิตก็คือการตัดหรือลดสิ่งสิ่งรบกวนในชีวิต เช่น ติดสุรา ติดเกมส์ ติดหนังติดละคร ติดเที่ยว ติดมือถือ ติดsocial สิ่งพวกนี้เป็นสิ่งรบกวนที่เราต้องจัดการ ลด หรือตัดออกจากชีวิตเรา เพื่อสร้างพื้นในชีวิตเราให้กับสิ่งที่เราควรหรืออยากทํา
  • คิดหรือกลัวไปก่อนจนหมดความเชื่อและความหวังกําลังใจที่จะทํา (คิดมาก คิดลบ)
    • ความคิดหลายครั้งก็หยุดเราก่อนที่เราจะลงมือทํา ต่อให้ในความจริงแล้ว หากเพียงแค่เราลงมือทํามันจริงๆมันอาจจะไม่ได้ยากอย่างที่เราคิด แต่ว่าคนเราก็มักจะคิดลบไปก่อน ประเมินตัวเองตํ่าเกินไป กลัวความล้มเหลวจนไม่อยากจะเริ่ม ดังนั้นการจัดการความคิดเป็นทักษะที่เราจําเป็นที่จะต้องฝึก เพราะหากเราไม่เชื่อไม่มีกําลังใจที่จะทํา แน่นอนเราก็จะรู้สึกไม่อยากทําจนเป็นเหตุให้เราผลัดวันประกันพรุ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรที่จะค่อยสังเกตความคิดลบและความกลัวของตัวเองเราเอง พยายามทักท้วงและให้ค่ามันให้น้อยกว่าการกระทําของเราเสมอ เพราะว่าความคิดและความกลัวไม่ใช่ความจริง ความจริงเรารู้ได้ก็ต่อเมื่อเราทํามันลงไปจริงๆ ดังนั้นให้การกระทําเป็นตัวพิสูจย์ ไม่ว่าเราจะคิดว่าเราทําได้หรือไม่ได้ก็ตาม ให้ลองก่อน มันอาจจะง่าย เราอาจจะชอบมันกว่าที่เราคิดก็ได้ อย่าให้ความคิดมาจํากัดสิ่งที่เราทําได้หรือไม่ได้และฝึกให้การกระทําของเราเป็นตัวพิสูจย์ความจริง
  • มีความเชื่อมั่นและความอยากที่จะทําน้อยเกินไป
    • ไม่เพียงแค่เราควรที่จะระวังความคิดลบของเรา เราเองก็ต้องสร้าง ความเชื่อมั่น กําลังใจ และความชัดเจนให้กับตัวเองให้มากขึ้น เพื่อทําให้เราไม่อยากที่จะผลัดวันประกันพรุ่งด้วย ยกตัวอย่างเช่น เราจะทําอะไรบ้างอย่างเราก็ต้องศึกษาว่าทําไมมันทําได้หรือไม่ได้ หากเราศึกษาแล้ว แล้วหลักฐานมันบอกเราว่ามันเป็นไปได้ มันก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้เราได้ว่ามันเป็นได้ ซึ่งก็จะทําให้เรามีความเชื่อและมีกําลังใจมากขึ้นจนทําให้เราอยากที่จะผลัดวันประกันพรุ่ง
  • ถ้าเราอยากได้อะไรมากพอ เราก็จะหาเวลาและวิธีทํามันจนสําเร็จ การที่เราผลัดวันประกันพรุ่ง อาจจะแสดงให้เห็นว่า จริงๆแล้วเราไม่ได้อยากทํามันจริง
    • บางทีมันง่ายกว่าที่เราจะหาให้เจอและเข้าใจธรรมชาติของเราเองมากว่าที่เราจะต้องไปต้องบังคับตัวเองให้ทําในสิ่งที่ไม่เหมาะกับตัวเองทุกครั้ง ใช่บางทีเราก็ควรที่จะมีวินัยกับตัวเอง แต่เราก็ควรที่จะฉลาดพอที่จะรู้ว่าเราชอบอะไร เราเก่งด่านไหน และเราเหมาะกับอะไร เพราะหากว่าเราทําในสิ่งที่ตรงต่อธรรมชาติของเรา มันจะไม่ต้องฝืน เราจะไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง และเราจะอยากทํามัน
  • ไม่ได้ย้อยปัญหาให้เล็กพอที่เราจะรู้สึกว่าเราทําอะไรกับมันได้
    • การที่เราวางแผนใหญ่หรือไกลเกินไปบางทีก็ทําให้เราท้อแท้และรู้สึกว่ามันเป็นไปไม่ได้จนเราพลัดวันประกันพรุ่งได้ เช่น เราอยากจะเดินขึ้นเขา หากว่าตอนนี้เรายังอยู่ตีนเขา แน่นอน เพียงแค่เรามองขึ้นไปที่ยอดอันแสนไกล เราก็หมดกําลังใจแล้วแล้ว แต่หากเราย้อยสิ่งที่เราต้องทําจริงๆ มันก็แค่จดจ่ออยู่ที่ก้าวต่อไปที่ละก้าว ไม่เลื่อยๆอย่างไม่ย่อท้อ มันไม่ได้มีอะไรไปมากกว่านั้น เช่นเดียวกัน ชีวิตเราก็ไม่ได้ต่าง ไม่ว่าเราจะทําอะไร เช่น เราอยากอ่านหนังสือให้จบ มันก็แค่วางแผนในการอ่านไปเลื่อยๆที่ละหน้าสองหน้าจนจบ เราอยากที่จะเขียนหนังสือ เราก็ค่อยๆเขียนไปที่ละบทจนจบ เราอยากที่จะรวยพันล้าน เราก็ต้องเริ่มจากจุดเล็กๆก่อนว่าแผนเราคืออะไร แล้วเราทําอะไรบ้างในทุกๆวันเพื่อจะก้าวไปใกล้เป้าหมายมากขึ้น ดังนั้นอย่าไปดูที่ผลลัพธ์ ให้เราดูแค่ว่าวันที่เราได้ทําสิ่งที่เราต้องทําและทําได้เพื่อให้เราก้าวหน้าไปใกล้เป้าหมายเราแล้วหรือยังแค่นี้พอ

อันนี้เป็นแค่บางเหตุผลที่เราควรพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ แต่หากว่าเราไม่แน่ใจก็ควรพัฒนาทุกๆปัจจัยที่ได้ว่ามาให้ดีที่สุด แต่ถ้าเราทราบเหตุที่ทําให้เราผลัดวันประกันพรุ่งแล้ว เราก็ควรมาวางแผนชีวิตใหม่เพื่อตอบโฉดกับปัญหาที่เรากําลังเจอ เช่น คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งเพราะไม่มีระเบียนแผนในชีวิต ก็อาจจะต้องเริ่มโดยการจัดตารางชีวิตในแต่ละวันจนเป็นนิสัยว่าแต่ละวันแต่ละอาทิตย์จะต้องทําอะไรบ้าง หรือคนที่มีสิ่งรบกวนมากในชีวิต เช่น ติดเกม ก็ควรวางแผนลดหรือเลิกเกมส์ให้ได้ก่อน

ทบทวนตัวเองอยู่เป็นประจําเพื่อสร้างความสม่ำเสมอให้กับชีวิต

หลักการและปัจจัยที่จะทําให้เราไม่ผลัดวันประกันพรุ่งมีอยู่ 3 ส่วนนี้คือ 1) จิตใจ เราอยากทํามันไหม เราเชื่อมันไหม 2) พฤติกรรม เราทํามันอยู่ไหม และ 3) มันตรงต่อความจริงไหม หรือว่า เราทําถูกต้องไหม นี้ก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องทบทวนและติดตามผลอยู่เป็นประจํา หากเรามีพฤติกรรมที่ถูกต้อง แต่ลึกๆจิตใจเราไม่มีความพอใจที่จะทํามัน สุดท้ายมันก็ไม่สําเร็จผล ในที่สุดเราก็กลับมาผลัดวันประกันพรุ่งเหมือนเดิม หรือว่าเราอยากทํามัน แต่ว่ามีแต่ความอยากไม่มีระเบียบวินัยมากพอที่จะทํามัน ก็ไม่ได้เช่นกัน หรือว่า เราขยันทําและรักที่จะทํามัน แต่มันทําผิด เช่น อยากรวยแต่กลับไปขยันเล่นการพนันแบบนี้มันก็เป็นการขยันผิดที่ เมื่อมันไม่สําเร็จเราก็จะรู้สึกผิดหวังจนทําให้เราไม่อยากทําและหมดหวังกําลังใจได้ นี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราเห็นสิ่งที่มาขัดข้างและทําให้เราผลัดวันประกันพรุ่งจากสิ่งที่เราอยากทําได้

ควรพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เมื่อ...

  1. ไม่มีทางออก
  2. อาการไม่ดีขึ้น
  3. พยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถใช้บริการปรึกษากับนักจิตวิทยาหรือสอบถามรายระเอียดได้ตามลิงก์นี้:

ปรึกษานักจิตวิทยา

สามารถให้ความคิดเห็นให้ กําลังใจ และช่วยพัฒนาได้ที่:

แบบฟอร์ม Feedback

ขอบคุณทุกความคิดเห็นและจะเอาไปพัฒนากล่องยาประจําใจครับ

สําหรับท่านที่อยากมีกล่องยาสามัญประจําใจไว้ที่บ้านหรือเป็นของฝากให้คนอื่นเมื่อกล่องยาประจําใจตีพิม สามารถติดต่อสั่งจองได้ที่:

แบบฟอร์มสั่งจองกล่องยาสามัญประจําใจ

หรือ

Line: @schooloflife

Line: @schooloflife

ตัวยาอาจจะใช้ได้กับบางคนแต่อาจจะไม่เหมาะกับบางคน โปรคใช้วิจรณญานและเลือกใช้ได้สิ่งที่เรารู้สึกว่าน่าจะใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง