แนวทางการพัฒนาจิตใจ
ทําไมต้องพัฒนาจิตใจ
เพราะมันเป็นสิ่งที่ตัดสินว่าชีวิตเราจะมีความสุขหรือความทุกข์
ยกตัวอย่างเช่นคนที่มีจิตใจโลภ ต่อให้เรามีเงินมากเท่าไหรก็หาความสุขไม่เจอ เพราะไม่รู้จักคําว่าพอ คนที่มีจิตใจหดหู่ชอบคิดลบและต่อว่าตัวเอง ต่อให้มีอะไรให้มีความสุขมากเท่าไรก็เห็นแต่สิ่งที่แย่ในชีวิต สิ่งที่พวกนี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและป้องกันได้ด้วยการฝึก อย่างพุทธสุภาษิตที่ว่า:
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ “จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้”
เพราะสังคมดีเท่าคนที่อยู่ในสังคม ถ้าคนในสังคมมีจิตใจที่ดี สังคมนั้นก็ดีตาม ถ้าคนในสังคมจิตใจตํ่าช้า สังคมก็เป็นเช่นนั้น
สังคมก็คือคนที่อยู่ร่วมกันและคุณภาพของสังคมก็ขึ้นอยู่กับจิตใจของคนที่อยู่ในสังคมนั้น ดังนั้นการพัฒนาจิตใจคือการยิงนกนัดเดียวได้นกสองตัว คือตัวเราเองก็เป็นสุขในการพัฒนาจิตใจตัวเองให้สูงขึ้น และผลพลอยได้ก็คือเราเองก็กลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัวน้อยลงและรักผู้อื่นมากขึ้น
การพัฒนาสิ่งภายนอกไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ระบบการบกครองหรือเศรฐกิจ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่การพัฒนาภายนอกก็ไม่ได้แปลว่าสังคมจะดีตามเสมอไป เหมือนการที่ลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คิดค้นระเบิดระเบิดปรมาณู โทโนโลยีมันไมได้ดีหรือไม่ดี มันแค่แล้วแต่ว่าคนจะเอาไปใช้ทําอะไร เช่น เอาไว้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เอาไปสู้รบ หรือว่าจะเอาไปทําโรงไฟฟ้า หรือยกอีกตัวอย่างเช่น เรามีบ้านใหญ่ขึ้น รถแพงขึ้น เงินทองมากขึ้น มีสิ่งของอํานวจความสะดวกมากขึ้น แต่ถ้าคนกลับจิตใจแย่ลงมันก็ไม่มีความหมายอะไร
นี้คือเหตุผลสั่นๆว่าทําไมการพัฒนาจิตใจจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นหัวใจสําคัญของการมหาลัยชีวิต เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อในการเปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคมในทางที่ดี
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตามนี้:
ปัญหาของจิตใจมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
แนวทางการพัฒนาจิตใจมี 3 ด่าน
- คุณภาพของจิตใจ
- สมรรถภาพของจิตใจ
- สุขภาพของจิตใจ
คุณภาพของจิตใจ
คือคุณธรรมในจิตใจ ความไม่เห็นแก่ตัว ความเสียสละ ความรักผู้อื่น ความเมตตา รักความดีความถูกต้อง เป็นต้น
ศักยภาพของจิตใจ
คือความสามารถของจิตใจ ได้แก่ความอดทน ความสู้งาน ความไม่แกล้วกล้า ความมุ่งมั่น ความเป็นสมาธิ เป็นต้น ใจที่ยิ่งมีความนิ่งมากเท่าไรก็มีความแข็งแกร่งทางด่านจิตใจมากเท่านั้น
สุขภาพของจิตใจ
คือความสุข เกิดจากความพอใจ ความลดละ และความพอเพียง
แต่สุดท้ายแล้วเราต้องการจิตใจที่มีทั่งสามอย่างก็คือ มีความสุข มีความดีงาม และ มีความแข็งแกร่ง
วิธีการพัฒนาจิตใจนั้นมาหลากหลายแต่แนวทางนั้นมีทางเดียวนั้นก็คือ 1) การทําจิตใจให้หมดไปจากกิเลสและ 2) การทําให้จิตใจอยากที่จะทําความดี
การฝึกจิตใจ หรือ ในพุทธศาสนาเรียกว่าการภาวนา นี้คือเปลี่ยนแปลงจิตใจในทางที่ส่งเสริมทั่งคุณภาพ ศักยภาพ และ สุขภาพ ของจิต ซึ่งหลักๆแล้วก็คือการเอาชนะกิเลสด้วยปัญญา หรือจะพูดอีกแบบก็ได้ว่าเป็นการเปลี่ยนความเห็นแก่ตัวให้เป็นความไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งในพุทธศาสนานี้แนวทางก็มีชัดเจนอยู่แล้วนั้นก็คือมรรคมีองค์ 8 แต่จะสรุปเป็นภาษาคนธรรมดาให้ฟังว่ามันก็คือการพัฒนาชีวิตที่แบงเป็น 3 ส่วน
- จิตใจ
- ความรู้
- พฤติกรรม
จิตใจที่เราต้องการก็คือจิตใจที่ไม่กิเลสหรือความเห็นแก่ตัว มีแต่ปัญญาหรือความรู้